Page 76 -
P. 76
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
70 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
กระบวนการไม่ใช่เพียงแค่การพูดคุยในห้องบรรยาย แต่เป็นกระบวนการที่รับรู้ได้ด้วยหัวใจ ช่วยกระตุ้น
กระบวนการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการออกแบบปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของ
ตนเองได้
รูปที่ 1 วงจรการเรียนรู้
ที่มา : จากเวทีสรุปบทเรียนการทำงานโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม วันที่ 4-5
เมษายน 2557
2.3 วิธีการวิถีระนาบ
ผลจากการศึกษาพบว่าการทำงานกับคนรุ่นใหม่ทั้ง 5 กรณีศึกษามีการจัดความสัมพันธ์
ระหว่างผู้จัดกระบวนการและผู้เข้าร่วมกระบวนการ หรือระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง ในแบบวิถีระนาบ
(horizontalism) เป็นการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์อย่างเท่าเทียม โดยไม่ตกอยู่ในเงื่อนไข ทั้ง
เพศ วัยวุฒิ คุณวุฒิ ในการเปิดพื้นที่เพื่อการแลกเปลี่ยน และไม่มีการครอบงำทางความคิด (ภควดี วีระ
ภาสพงษ์, 2554.) หรือผู้จัดกระบวนการจะระวังไม่เอาชุดประสบการณ์ตนเองมาอธิบายความเข้าใจของ
กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เข้าร่วมกระบวนการ แต่จัดกระบวนการให้ผู้เข้าร่วมฯสามารถสร้างชุดอธิบายใหม่ได้ด้วย
ตนเอง ผู้เข้าร่วมกระบวนการสามารถวิพากษ์วิจารณ์พี่เลี้ยงและกระบวนการได้อย่างเต็มที่ พร้อมทั้งให้
ช่วยออกแบบแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้วย
ผู้จัดกระบวนการเป็นผู้ชี้ให้เห็นการจัดการความสัมพันธ์เชิงอำนาจใหม่ ที่ส่งผลต่อกระบวนการ
เรียนรู้ในระดับปัจเจก และเชื่อมโยงการจัดการความสัมพันธ์เชิงอำนาจนั้นกับสังคมหรือกระบวนการที่คน
รุ่นใหม่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้เห็นภาพการใช้อำนาจในวิถีชีวิตปกติ อีกทั้งวิธีการวิถีระนาบจะให้ความ
สำคัญกับทุกคำถามและทุกคำตอบ เสียงทุกเสียงที่เกิดขึ้นในเวทีจะได้รับการสนองตอบ และเน้นการ
ทดลองใหม่ๆ ที่ท้าทาย ในการออกแบบการทดลองใหม่ทางสังคม โดยเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม
ประเด็นที่สะท้อนจากทั้ง 5 กรณีศึกษานั้นพบว่า ผู้จัดกระบวนการที่เหมาะสมกับการสร้างคน
รุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันเป็นผู้ที่ยอมรับความแตกต่าง ไม่ใช้บทสรุปหรือประสบการณ์ของผู้จัดกระบวนการ
มาอธิบายปรากฏการณ์ของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน และเป็นผู้สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่สามารถออกแบบ