Page 72 -
P. 72

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           66     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           สังคมที่ชัดเจนกว่ากลุ่มลูกชาวบ้านที่มาจากหลายคณะ  มีการเข้าออกของสมาชิกตลอดเวลา  กิจกรรมจึง
           ขาดความต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมกระบวนการด้วย
                    ทั้ง  5  กรณีศึกษามีจุดร่วมเดียวกันคือการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วม
           กระบวนการ  รวมถึงการเรียนรู้ไปพร้อมกันทั้งผู้จัดกระบวนการและผู้เข้าร่วมกระบวนการ  โดยมีราย
           ละเอียดดังต่อไปนี้

                    1.1 ผู้เข้าร่วมกระบวนการ
                    ผลจากการศึกษาพบว่า  ปัจจุบันกระบวนการทำงานกับคนรุ่นใหม่มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับ
           วัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรม  บางโครงการใช้วิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมกระบวนการจากการ

           เขียนใบสมัครและรับทั้งหมด โดยไม่ต้องมีการคัดเลือกแต่เปิดพื้นที่ให้เข้ามาเรียนรู้ ส่วนโครงการที่มีการ
           คัดเลือกผู้เข้าร่วมนั้นเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้ความแตกต่างหลากหลายของผู้เข้าร่วมฯเป็น
           เงื่อนไขหนึ่งในการสร้างกระบวนการเรียนรู้
                    1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการและกิจกรรมชัดเจน
                    การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรม  พบว่ามีการกำหนดวัตถุประสงค์ของ

           โครงการชัดเจน  เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  จากการศึกษาพบว่าการออกแบบ
           กิจกรรมมีความสอดคล้องและชัดเจน  เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ  เช่น  โครงการค่ายเมล็ด
           พันธุ์สันติวิถี  มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างสันติวิธีให้อยู่ในชีวิตประจำวัน  กิจกรรมในค่ายจึงเน้นการ

           ทำความเข้าใจตนเอง  และมีกิจกรรมเพื่อให้ได้ฝึกทักษะด้านสันติวิธีเพื่อจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน
           ชีวิตและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นต้น
                    1.3 เนื้อหามีความเหมาะสมกับผู้เข้าร่วม
                    การจัดกระบวนการที่มีรูปแบบหลากหลาย  มีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ในระดับปัจเจกบุคคล
           ด้วย  ทั้งการให้ความรู้ด้านการละคร  การทำสื่อทางเลือก  การสัมผัสพื้นที่จริง  และสนับสนุนให้เกิด

           ปฏิบัติการ  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง  โดยคำนึงถึงความสนใจของผู้
           เข้าร่วมกระบวนการที่มีความแตกต่างกัน
                    1.4 เน้นกระบวนการกลุ่มและสร้างการมีส่วนร่วม

                    กระบวนการกลุ่มเป็นพื้นที่การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการยอมรับความแตกต่างทั้งความคิดเห็น
           ความเชื่อ ชาติพันธุ์ ช่วยให้ได้ลองผิดลองถูกและมีพัฒนาการไปพร้อมกัน ซึ่งการจัดกระบวนการกลุ่มจะ
           เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน หากกระบวนการไม่สนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนอาจกลายเป็นพื้นที่
           ส่งเสริมการนำเดี่ยวของสมาชิกกลุ่มบางคนได้
                    กระบวนการมีส่วนร่วมช่วยสนับสนุนให้เกิดการออกแบบกิจกรรมร่วมกัน  หรือเกิดกลไกเพื่อ

           สนับสนุนการเรียนรู้ให้สอดคล้อง  โดยในโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและ
           โครงการค่ายเมล็ดพันธุ์สันติวิถี  พบว่ามีการออกแบบกิจกรรมหรือกลไกใหม่ภายหลังจากกระบวนการ
           กลุ่มได้ช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ  จนนำมาสู่การออกแบบกระบวนการร่วมหรือมี

           ข้อเสนอแนะในการปรับกระบวนการในระหว่างดำเนินโครงการ
                    เวทีสรุปบทเรียนเป็นอีกพื้นที่หนึ่งของการมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่าการสรุปบทเรียนมีทั้ง
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77