Page 68 -
P. 68
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
62 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ในสังคมไทยกำลังอ่อนแอ สถาบันการศึกษาไม่ได้ทำหน้าที่กล่อมเกลาเยาวชน และยังทำให้เยาวชนส่วน
ใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมต่อสังคม มีทัศนคติเชิงลบและไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวของ
ชาวบ้าน โดยเชื่อว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนเป็นผลประโยชน์แอบแฝงของคนบางกลุ่ม (อมรวิทย์
นาครทรรพ, 2547: 16-34)
อย่างไรก็ตามจากการรวบรวมข้อมูลของมูลนิธิสยามกัมมาจล (แวนิชชิ่ง, 2552) พบว่าปัจจุบัน
มีองค์กรที่สนับสนุนการรวมกลุ่มของเยาวชนเพื่อทำกิจกรรมทางสังคมและงานอาสาสมัครหลายรูปแบบ
ไม่เฉพาะกิจกรรมในมหาวิทยาลัย มีทั้งกลุ่มที่เน้นกระบวนการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ กลุ่มทำงาน
พัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี และคนพิการ กลุ่มกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม กลุ่มทำงานกับเยาวชนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มส่งเสริมกิจกรรมด้านศิลปะและ
วัฒนธรรม กลุ่มส่งเสริมการทำงานจิตอาสา นอกจากนี้ยังพบว่าภายหลังเหตุการณ์พิบัติภัยสึนามิ เมื่อวัน
ที่ 26 ธันวาคม 2547 ได้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายจิตอาสาและศูนย์อาสาสมัครมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการประสานงานขอความช่วยเหลือต่างๆ ซึ่งต่อมาได้ยกระดับ
ให้เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมของคนรุ่นใหม่ (แวนิชชิ่ง, 2552: 208)
นับว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ช่วยสร้างให้กระแสการทำกิจกรรมทางสังคมได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่
อีกครั้ง
ถึงแม้ว่าคนรุ่นใหม่จะหันมาให้ความสนใจกับการทำกิจกรรมจิตอาสามากขึ้น แต่เป็นการ
ทำงานอาสาสมัครแบบไม่ต่อเนื่อง และเน้นงานในลักษณะการช่วยเหลือหรือการสงเคราะห์ ส่วนกิจกรรม
ที่สนับสนุนการทำงานของชุมชนหรือการตั้งคำถามกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมกลับลดจำนวนลง เยาวชน
ในปัจจุบันใช้เวลาในการดูหนัง ฟังเพลง ดูกีฬา มากกว่าการคิดค้นหรืออ่านหนังสือ เห็นโลกที่เต็มไปด้วย
สีสันและความบันเทิง (ยุค ศรีอาริยะ, 2542: 86)
ในขณะที่สถานการณ์ปัญหาสังคมในศตวรรษที่ 21 กำลังเผชิญหน้าการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพภูมิอากาศ การแย่งชิงทรัพยากร ปัญหาทางเศรษฐกิจ ภาคเศรษฐกิจและบริการขับเคลื่อนด้วย
ข้อมูล ความรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ มีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่การทำงานที่ซ้ำซาก การพัฒนาทักษะ
การหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการคิดเชิง
วิพากษ์ ความสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมการแก้ไขปัญหา และมีความถนัดที่หลากหลายเป็นสิ่งสำคัญ
(เคน เคย์, 2554: 34-37) เยาวชนในศตวรรษหน้าจึงต้องเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาตนเอง
อย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
การทำงานพัฒนาคนรุ่นใหม่ผ่านงานอาสาสมัครเพื่อเปิดโลกการเรียนรู้สังคมของเยาวชนในยุค
ปัจจุบัน อาจยังไม่เพียงพอต่อการสร้างพลเมืองของประเทศที่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์สังคมและร่วม
เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น ความท้าทายในการทำงานกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันคือการสร้างกระบวนการ
เรียนรู้ท่ามกลางกระแสสังคมที่หมุนเคลื่อนโลกด้วยทุนว่าควรมีทิศทางกระบวนการและรูปแบบการ
ทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์สังคมปัจจุบันอย่างไร เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจและมี
ปฏิบัติการเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสังคมได้ บทความชิ้นนี้จึงสังเคราะห์รูปแบบ กระบวนการ ตลอดจนความ