Page 65 -
P. 65

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


             J. of Soc Sci & Hum. 41(2): 59-75 (2015)          ว. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 41(2): 59-75 (2558)



                         กระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

                                             ในศตวรรษที่ 21*

                         Process of Enhancing Youth for Social Changes

                                          in the 21st Century     *


                                                                           กิตติกาญจน์ หาญกุล**
                                                                               Kittikan Hankun




                                                  บทคัดย่อ


                      บทความเรื่องนี้เป็นผลจากการศึกษาแนวคิด  รูปแบบ  การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม

             กับคนรุ่นใหม่  เงื่อนไข  ปัจจัยที่สนับสนุนและที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการทบทวนเอกสาร
             และการสัมภาษณ์จาก 5 กรณีศึกษา
                      จากการศึกษาพบว่า  การจัดกระบวนการเรียนรู้ในยุคสมัยปัจจุบัน  มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
             (1)  การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการหรือกิจกรรมให้ชัดเจนจะช่วยให้จัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับ
             เป้าหมายของงาน  (2)  เนื้อหาในการจัดกระบวนการต้องสอดคล้องกับแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีวิธีการ

             เรียนรู้แตกต่างกัน  (3)  ระยะเวลาในการจัดกระบวนการต้องมีความเหมาะสมเพื่อให้การเรียนรู้มีความ
             ละเอียด  รอบด้าน  และเอื้อให้ผู้ร่วมกระบวนการสามารถเข้าใจอย่างลึกซึ้ง  (4)  การมีพื้นที่การเรียนรู้ใน
             ชุมชน กลุ่มคน พื้นที่สาธารณะที่ท้าทายและแปลกใหม่ จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เข้าร่วมกระบวนการสามารถ

             เชื่อมโยงสู่การวิเคราะห์สังคมเพื่อออกแบบปฏิบัติการบางอย่างร่วมกันได้
                      องค์ประกอบที่มีความสำคัญมากที่สุดในการจัดกระบวนการได้แก่  ผู้จัดกระบวนการและ
             แนวคิดที่ใช้ในการจัดกระบวนการสำหรับผู้จัดกระบวนการนั้นต้องมีทั้งความรู้ในเชิงแนวคิด  ทฤษฎีใน
             การออกแบบกระบวนการ ประสบการณ์ และทักษะในการจัดกระบวนการ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และ
             สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้จากภายใน โดยแนวคิดสำคัญในการจัดกระบวนการคือ (1) แนวคิดการศึกษา

             ทางตรงที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ในระดับปัจเจก  ผ่านกระบวนการกลุ่มที่สร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย



             * บทความชิ้นนี้เรียบเรียงจากงานวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม  โดยได้รับการ
                 สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสนับสนุนการวิจัยของสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                 ประจำปี 2556
             *    This article is a part of the research “The Youth Enhancing Process for Social Change.” It is supported by
                  Fund of The Graduate Volunteer Centre, Thammasat University, 2013.
             **  อาจารย์ประจำสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
               Lecturer at the Graduate Volunteer Centre at Thammasat University
               Corresponding author, e-mail : kkhankun@gmail.com
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70