Page 47 -
P. 47
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 41
การจัดการของหน่วยฯ จะครอบคลุมทุกด้าน โดยส่วนมากจะเป็นการน้อมนำแนวพระราชดำริ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้านต่างๆ มาดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า พื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ
การสร้างฝายต้นน้ำลำธาร การส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก เพื่อกันดินพังทลายสำหรับพื้นที่ภูเขาสูงที่
เป็นต้นน้ำ โครงการป่าพื้นบ้านอาหารชุมชน (Food Bank) จัดหาและปลูกพันธุ์พืชที่เป็นแหล่งอาหาร เช่น
เพกา สะเดา หว้า ชะอม และขี้เหล็ก ให้กับชุมชนเพื่อลดค่าใช้จ่ายและสุขอนามัยที่ดี รวมถึงสวนสมุนไพร
อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย และจัดค่ายศึกษาระบบนิเวศต้นน้ำ (ค่ายเยาวชนต้นน้ำ) ให้กับเยาวชนในหมู่บ้าน
และจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนสร้างจิตสำนึกทั้งเยาวชนและชุมชนที่อาศัยอยู่
ในป่า ที่สำคัญก็คือต้นน้ำโดยเฉพาะภาคเหนือมีชุมชนอาศัยอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูก
กฎหมาย ก็ต้องทำให้ชุมชนเหล่านั้นอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน ไม่ทำลายป่า (หน่วยอนุรักษ์และจัดการ
ต้นน้ำห้วยแม่พริก จังหวัดลำปาง ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว รางวัลพิเศษ ประจำปี 2552)
กรณีศึกษาที่ 3 พระสมพงษ์ ถาวรธมฺโม วัดดานมุทิตา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ภาพ
ตัวแทนของผู้นำที่เป็นพระภิกษุ จากการศึกษาและลงพื้นที่พบว่าบริเวณของวัดนั้นอยู่ที่ภูหมากยาง ซึ่งมี
อาณาเขต 2,100 ไร่ ในบริเวณป่าดงปอ-ดงบังอี่ มีวัด 3 แห่งคือ วัดอ่างเมย วัดด่านใหญ่ และวัดดาน
มุทิตา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและมีพระจำพรรษาตามภูต่างๆ โดยมีทีมงานที่เป็นชาวบ้าน
ช่วยกันดูแลพื้นที่ป่าทั้ง 3 เขต ปัญหาที่พบเกิดจากป่าที่บริเวณนี้เป็นป่าเสื่อมโทรมเพราะชาวบ้านบุกรุก
เผาป่าเพื่อจับจองพื้นที่ทำกินและมีไฟป่าเกิดขึ้นทุกปี ไฟป่าซึ่งเกิดจากคนเป็นผู้กระทำ การบุกรุกมีทั้งการ
ปลูกมันสำปะหลัง ไร่ปอ ไร่อ้อย และต่อมาก็กลายเป็นที่เสื่อมโทรม บางทีผู้บุกรุกก็ตัดกล้วยไม้ป่า จับ
สัตว์เช่น ปูแป้ง หมูป่า อีเห็น งูเหลือม งูจงอาง หมาจอก ตะกวด เป็นต้น นอกจากนี้ ก็จะมีนายทุน หรือ
เจ้าหน้าที่เองที่สนับสนุนให้คนบุกรุกป่าและล่าสัตว์
ด้วยอุดมการณ์ที่มุ่งมั่นและตั้งใจของพระสมพงษ์ ถาวรธมฺโม และความสามัคคีของชุมชนชาว
บ้าน ผู้ปกครอง นักเรียน ทำให้งานต่างๆ ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มไม่ได้รับการ
สนับสนุนจากผู้ปกครองคณะสงฆ์ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ และไม่ได้รับการ
สนับสนุนจากองค์กรเอกชนมากนัก ทำให้การดำเนินงานผ่านไปด้วยความยากลำบากเพราะขาดเงินทุน
สนับสนุน (พระสมพงษ์ ถาวรธมฺโม ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทบุคคล ประจำปี 2552)
กรณีศึกษาที่ 4 ชุมชนบ้านช่องแคบ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ภาพตัวแทนภาค
ประชาชน มีบริเวณที่เป็นสาธารณะประโยชน์เชิงภูเขาที่ดูแลอยู่ 385 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา ขึ้นทะเบียน
เป็นป่าชุมชนเมื่อปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันได้ช่วยเหลือดูแลพื้นที่ในที่ราชพัสดุที่เป็นผืนป่าที่ภูเขาใกล้กับ
ชุมชนอีก 3,750 ไร่ มีชุมชนอยู่ 400 หลังคาเรือน ในปี พ.ศ. 2550 นายไมตรี ช้างโต ผู้ริเริ่มโครงการ
ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ปัจจุบันนายชิษณุพงศ์ ปัญญาชัยรักษา ได้รับหน้าที่เป็นประธานป่าชุมชน
บ้านช่องแคบ คณะกรรมการป่าชุมชนบ้านช่องแคบปัจจุบันมีสมาชิก 105 คน และยังมีชาวบ้านกว่า
1,000 คน ที่เป็นเครือข่ายร่วมกิจกรรม
ที่มาของโครงการเกิดหลังจากสัมปทานตัดไม้เพื่อเผาถ่านสิ้นสุดลง ผืนดินของชุมชนบ้านช่อง
แคบ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เกิดความเสียหายไม่สามารถทำการเกษตรได้ ชาวบ้านจึงบุกรุก
ตัดไม้ทำลายป่า เพื่อทำสวน ทำไร่เลื่อนลอย ทำไร่มันสำปะหลัง ทำให้ทั้งดินและป่าไม้ของชุมชนเสียหาย