Page 51 -
P. 51

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   45



             ภาคประชาชนมีสมาธิเด่น คำว่า “สมาธิ” ในที่นี้หมายถึงความตระหนักและมุ่งมั่น และมีสำนึกรักท้องถิ่น
             รักบ้านเกิด  และเห็นคุณค่าแผ่นดินที่ตนอยู่อาศัย  3)  องค์กรเอกชนและหน่วยงานภาครัฐหรือองค์การ
             บริหารส่วนท้องถิ่นมีศีลเด่น  “ศีล”  ในที่นี้หมายถึงระบบระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ  ที่เป็นนโยบายและ
             ข้อกำหนดที่หน่วยงานต้องปฏิบัติตาม  ในขณะเดียวกันแต่ละองค์กรก็ได้มีวิธีการประยุกต์หลักอื่นๆ
             ประกอบการดำเนินงานหนุนเนื่องกันไป  การปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ของแต่ละกรณีศึกษา  จึงมีลักษณะการ

             บูรณาการทั้งในระดับหลักการและวิธีการในพระพุทธศาสนากับเงื่อนไขอื่นๆ ด้วย เช่น หากเป็นพระสงฆ์
             จะมีการนำหลักธรรม พิธีกรรมต่างๆ มาใช้ร่วมกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ในขณะที่องค์กรอื่น จะมี
             การนำกฎหมาย ระบบ ระเบียบของรัฐหรือขององค์กรมาเป็นตัวนำ และอาศัยตัวแทนพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำ

             ทางจิตวิญญาณเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนด้วย  ส่วนวงรอบใหญ่ภายนอกที่คลุมหลักไตรสิกขานั้น
             เป็นการเชื่อมโยงให้เห็นว่ากระบวนการดำเนินงานต่างๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน อาศัยซึ่งกันและกัน
             และต้องศึกษาเหตุปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการทำงานสัมพันธ์กันอย่างบูรณาการ เพื่อ
             เป็นการสร้างประโยชน์สุขร่วมกันทั้งด้านกายภาพและจิตวิญญาณอย่างยั่งยืน


                                                    สรุป


                         ปัญหาของระบบนิเวศเกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างก้าว
             กระโดด  และเป็นผลสืบเนื่องจากอิทธิพลด้านแนวคิดแบบลดทอนที่ทำให้มนุษย์ขาดจิตสำนึกด้าน

             สิ่งแวดล้อมและสำนึกคุณธรรมจริยธรรม  แต่อีกฟากฝั่งหนึ่งได้มีความพยายามจะฉุดหรือเหนี่ยวรั้งให้
             มนุษย์หันมาเคารพธรรมชาติ  ใช้ทรัพยากรอย่างพอเพียง  กล่าวคือระบบความคิดใหม่ในการบูรณาการ
             พุทธธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม  จากกรณีศึกษาทั้ง  6  กรณีในพื้นที่แตกต่างกัน
             ของประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงระบบคิดและแนวทางประยุกต์ใช้พุทธธรรมอย่างมีนัยสำคัญ  โดยพบ
             ว่า  มีลักษณะการประยุกต์ใช้หลักไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญาที่มีความโดดเด่นไปตามสภาพพื้นที่

             การบูรณาการองค์ธรรมทั้ง  3  สามารถช่วยพัฒนาจิตสำนึกและสังคมให้มีสุขภาวะที่ดีและมีการพัฒนา
             อย่างยั่งยืน


                                                ข้อเสนอแนะ


                      1. ข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติการ
                      องค์กรเครือข่ายควรสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องเพื่อขับเคลื่อนการเสริมสร้างสุขภาวะ
             และการเรียนรู้ทางสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา  หน่วยงานและตัวแทนที่เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์-
             พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม  ยังมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ  ดังนั้น  การดำเนินการจึงควรมีการประสาน

             งานกับส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ  และมีการจัดเก็บฐานข้อมูลเพื่อส่งต่อองค์กรระดับนโยบาย  เช่น
             รัฐบาล  กระทรวงที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงปัจจัยสำคัญคือการมีส่วนร่วมของประชาชน  ชุมชน  สถาบันการ
             ศึกษาในระดับท้องถิ่น ในการผลักดันให้กิจกรรมอนุรักษ์-พัฒนาสิ่งแวดล้อมประสบความสำเร็จ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56