Page 48 -
P. 48

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           42     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           หนักขึ้น  นอกจากนี้ยังขาดพื้นดินอุ้มน้ำและเวลาน้ำป่ามาก็จะไหลหลากท่วมเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน
           ปัจจุบันพื้นป่ากลับมาสมบูรณ์  พื้นที่นี้จะติดต่อกับที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ  ปัจจุบันมีภาคเอกชน  เช่น
           บริษัท  SCG  Paper  สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม  เช่น  ค่าใช้จ่ายด้าน
           ยุวมัคคุเทศก์  ค่ายช้างน้อยรักป่าใหญ่  ซึ่งจัดต่อเนื่องทุกปี  หรือการบวชป่า  มีการจัดสรรเงินทุนคล้ายๆ
           สัจจะออมทรัพย์  มีกรรมการประมาณ  30  กว่าคน  การบุกรุกป่านอกจากจะมีชาวบ้านเข้ามาทำไร่

           เลื่อนลอยแล้ว ยังมีใบสั่งจากนายทุนให้ลักลอบตัดไม้ ซึ่งไม้ส่วนใหญ่ที่มีใบสั่ง ได้แก่ ไม้รวก ไม้แดง ไม้
           ประดู่ นอกจากนี้ ยังมีชุมชนอื่นๆ เข้ามาบุกรุกในที่พื้นที่โดยไม่คำนึงถึงกฎ กติกาของทางชุมชนบ้านช่อง
           แคบ  ทำให้มีปัญหาต้องมีการลาดตระเวนเพื่อป้องกันการบุกรุก  อุปสรรคอื่นๆ  เช่น  หน่วยงานภาครัฐ

           หรือ  อบต.  ยังไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร  แต่โดยหน้าที่  อบต.จะต้องมีเงินสนับสนุนแต่ละปีให้กับป่า
           ชุมชน (ชุมชนบ้านช่องแคบ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทชุมชน
           ประจำปี 2551)
                    กรณีศึกษาที่  5  ชุมชนบ้านท่าพรุ-อ่าวท่าเลน  ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขาทอง
           จังหวัดกระบี่  ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบอยู่ติดทะเล  มีภูเขาหินปูนในทะเล  ส่วนพื้นที่ป่าไม้ซึ่งมี

           จำนวนถึง  2,000  ไร่  เป็นพื้นที่สัมปทานไม้เพื่อเผาทำถ่าน  ปัจจุบันพื้นที่บ้านท่าพรุ-บ้านอ่าวท่าเลน  ดูแล
           พื้นที่ป่าชายเลนกว่า 3,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อ่าวและชายทะเลที่สวยงาม และเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ
           เช่น วังขนาบน้ำที่มีน้ำสีเขียวมรกต อ่าวทราย โครงกระดูกชาวเลที่มีอายุกว่า 100 ปี ภาพเขียนโบราณที่

           ยังไม่เคยมีการสำรวจจากกรมศิลปากร  ถ้ำปลาดุก  (ที่อยู่ของปลาดุกทะเล)  และผาหินงาม  มีประชากร
           บ้านท่าพรุ 134 ครัวเรือน 813 คน บ้านอ่าวท่าเลน 189 ครัวเรือน 539 คน ประชากร 80% เป็นมุสลิม มี
           พุทธ  20%  รายได้ของประชากรส่วนใหญ่มาจากการท่องเที่ยว  80%  ซึ่งเป็นนโยบายที่เปลี่ยนจากที่เคย
           เน้นเรื่องการประมง
                    จากมติคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิกการทำสัมปทานการเผาถ่านด้วยไม้โกงกางเมื่อปี  พ.ศ.2543

           เพราะทำให้ป่าชายเลนเสื่อมโทรม  เนื่องมาจากการตัดไม้โกงกาง  และทำให้สัตว์ทะเลลดน้อยลงไปด้วย
           ประกอบกับอิทธิพลของนายทุนที่ทำการประมงด้วยอวนรุนหรืออวนลาก  เอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้  เช่น  โซ
           น่าซาวเดอร์มากว้านหาฝูงปลา ปะการังถูกทำลายจนพัง สัตว์น้ำทั้งเล็กทั้งใหญ่ถูกจับหมด จึงไม่มีสัตว์น้ำ

           ให้ทำการประมงอีก  รายได้ของชุมชนซึ่งใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กก็ลดลงด้วย  นอกจากนี้  กระแสทุนนิยมก็
           ทำให้ชาวบ้านเริ่มหันมาทำการประมงด้วยการใช้อวนลาก ระเบิดไดนาไมต์ หรืออื่นๆ จึงทำความเสียหาย
           ให้กับปะการังและท้องทะเลอย่างมาก  และสุดท้ายการทำการประมงก็พบความลำบากมากขึ้น  หาปลาได้
           น้อยลง รายได้ของชาวบ้านแถบชุมชนบ้านท่าพรุ-อ่าวท่าเลนก็ลดน้อยลงไปด้วย สร้างความยากลำบากใน
           การดำรงชีวิต

                    คนในพื้นที่จึงเริ่มการอนุรักษ์ผ่านการให้ความรู้ชุมชนในเรื่องป่าชายเลน  เพื่อการอนุบาลสัตว์
           น้ำ  การเพิ่มขยายการปลูกป่าชายเลน  การทำปะการังเทียม  การทำประมงด้วยวิธีธรรมชาติ  มีการปล่อย
           สัตว์น้ำเพิ่ม เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย กุ้งกะพง ในป่าชายเลน เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์น้ำที่จะไป

           สู่ท้องทะเลต่อไป  โดยเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน  ได้รับความร่วมมืออย่างดีกับประธาน
           ป่าชุมชนบ้านท่าพรุ-อ่าวท่าเลน  คุณมะหมูด  รักดี  ได้จัดให้มีการประชุมหมู่บ้านทุกวันศุกร์  เพื่อระดม
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53