Page 52 -
P. 52
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
46 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
2. ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย
1) ชุมชนซึ่งนำโดยพระสงฆ์ ผู้นำองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ควรได้การคุ้มครองในการบริหาร
จัดการสิ่งแวดล้อมได้ด้วย
2) หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทางพระพุทธศาสนา เช่น กรรมการมหาเถรสมาคม
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรออกระเบียบ หรือประกาศ
ตามกฎหมายที่ให้การรับรอง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนองค์กรที่อนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการ
พัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และการเรียนรู้ของพระสงฆ์และสังคมไทยอย่างจริงจัง
3. ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรมีโครงการศึกษาวิจัยด้านนิเวศวิทยาเชิงศาสนาอื่นๆ ที่มีการประยุกต์ใช้หลักธรรมของ
แต่ละศาสนา เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้สากลในการอนุรักษ์-พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยฐานของ
ศาสนาเป็นแกนกลาง
2) ควรมีโครงการศึกษาวิจัยด้านสภาพปัญหาที่เกิดจากงานด้านอนุรักษ์-พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่
นำโดยพระสงฆ์ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน เพื่อทราบถึงข้อเท็จจริงของสภาพปัญหา เสนอแนะแนวทาง
แก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม
บรรณานุกรม
คริส บราเซียร์. (2555). ประวัติศาสตร์ (เกือบ) ครอบจักรวาล ฉบับย่อ. แปลโดย กมลรัตน์ อุเทนพิทักษ์.
กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
เจริญ ชัยแก้ว. (2541). แนวคิดจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม : ศึกษาเปรียบเทียบทฤษฎีตะวันตกกับพระพุทธ
ศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจริยศาสตร์ศึกษา. บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2525). สังคมวิทยาศาสนา. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
ปีเตอร์ ฮาร์วีย์. “พุทธศาสนากับสิ่งแวดล้อม”. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา. 2, 3 (2538) : 56.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2554). คนรักษ์ป่า ป่ารักษ์คน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิปัญญาประทีป.
_________. (2550). พจนานุกรมฉบับพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.
พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ :
มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่าย
องค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. นนทบุรี : สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 11.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.