Page 50 -
P. 50

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           44     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์


                            8
           กับหลักอิทัปปัจจยตา   ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ  เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน  จึงหมุนวนไปเป็น
           วัฎจักร เป็นไปเพื่อการพัฒนาตนและสังคม
                       อย่างไรก็ตาม  แนวทางปฏิบัติในด้านนิเวศวิทยาเพื่อการพัฒนาจิตและสังคมอย่างยั่งยืน
           สำหรับองค์กรที่เป็นหน่วยงานของรัฐ  องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น  คณะสงฆ์  ภาคประชาชน  และภาค
           เอกชนนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน  ทำให้จุดเริ่มต้นหรือตัวนำทางมีความแตกต่างกัน  บางองค์กรที่มีศีล

           เด่น  บางองค์กรมีสมาธิเด่น  และบางองค์กรมีปัญญาเด่น  แต่ทุกองค์กรมีหลักธรรมในการดำเนินควบคู่
           กันไปอย่างบูรณาการโดยไม่สามารถแยกอย่างใดอย่างหนึ่งได้และเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา  รูปแบบ
           ของการปฏิบัติ จึงมีลักษณะดังแผนภาพต่อไปนี้


                                                 อิทัปปจจยตา





                                         ภาคประชาชน    องคกรเอกชน

                                              สมาธิ     ศีล


                                              ญ  ป  า ญ  ศีล
                                                       หนวยงานรัฐ/
                                       องคกรคณะสงฆ   องคกรบริหารสวน

                                                           น ่ิ ถ ง อ  ท


                                                อิทัปปจจยตา

                      แผนภาพที่ 1 รูปแบบของการปฏิบัติที่มีลักษณะแตกต่างของแต่ละหน่วยงาน


                    จากแผนภาพ  สรุปเป็นกระบวนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่คือ  วงรอบภายในซึ่งแบ่งเป็น  4  ส่วน
           นั้น  เป็นตัวแทนการลักษณะการปฏิบัติงานของพื้นที่ที่มีความโดดเด่นในการประยุกต์หลักไตรสิกขา  1)
           องค์กรคณะสงฆ์มีความเด่นในการประยุกต์ใช้ด้านปัญญา  เพราะผู้นำองค์กรเป็นพระสงฆ์ที่พยายามเน้น
           ย้ำให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องปรับเปลี่ยนทัศนคติไปในทางที่ดีจากที่เคยมี  สร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์

           ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตามแนวทางพระพุทธศาสนา  ปลูกฝังคุณค่าในการรักธรรมชาติ  การตระหนักในการใช้
           ประโยชน์จากธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมร่วมกัน  องค์กรคณะสงฆ์จึงเป็นตัวแทนด้านจิตวิญญาณของสังคม
           ในแง่การอนุรักษ์  ฟื้นฟูธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  แต่มีส่วนที่ประยุกต์ด้านศีลและสมาธิด้วย  ในขณะที่  2)


            8   อิทัปปัจจยตา หมายถึง ภาวะที่มีอันนี้ ๆ เป็นปัจจัย ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย หรือกระบวนธรรมแห่งเหตุ
              ปัจจัย. ซึ่งในงานวิจัยนี้ หมายถึงกระบวนการดำเนินการที่ประสานสัมพันธ์ไปตามเหตุปัจจัยในแต่ละพื้นที่ที่ต้องพิจารณาสาเหตุ
              ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ และกระบวนการอนุรักษ์ฟื้นฟู ที่ต้องอาศัยทั้งแนวทางฝ่ายโลกและฝ่ายธรรม
              ดู  นิยามจาก พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), (2546), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 11, (กรุงเทพฯ :
              มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), หน้า 356.
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55