Page 46 -
P. 46

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           40     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           คุ้มครองทรัพยากรน้ำ พบว่า ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมีการกล่าวถึงเรื่องน้ำในบริบทของพระวินัย และอื่นๆ
           โดยเฉพาะในพระวินัยบัญญัติจะกล่าวถึงสุขลักษณะและมารยาทของพระภิกษุและภิกษุณี  การรักษา
           ความสะอาดของแม่น้ำ  เพราะถือว่าแหล่งน้ำเป็นที่ดื่มที่กิน  เป็นที่ใช้บริโภคของคนและสัตว์  เช่น  ไม่
           ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ เป็นต้น (วิ.มหา. (ไทย) 2/879/731; วิ.ภิกฺขุนี. (ไทย) 3/
                   6
           499/330)   ส่วนหลักพุทธธรรม  พระพุทธองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมให้มนุษย์เป็นกัลยาณมิตรต่อป่า
           ต้นไม้  เมื่ออาศัยอยู่ก็ไม่ควรทำร้าย  หรือประทุษร้าย  ไม่หักแม้กระทั่งกิ่งไม้ดังที่กล่าวแล้ว  ทั้งส่วนของ
           พุทธธรรมและพุทธวินัยจึงสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในแง่การส่งเสริม อนุรักษ์ และคุ้มครองทรัพยากรเหล่า
           นั้นมาแล้วตั้งแต่ยุคพุทธกาล

                    2. สรุปผลการวิจัยจากการเรียนรู้กรณีศึกษาใน 6 พื้นที่
                    คณะผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่ตัวอย่างเพื่อใช้สำหรับเป็นกรณีศึกษาใน 6 พื้นที่ โดยคำนึงถึงความ
           หลากหลายทางนิเวศวิทยา เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ ป่าชายเลน เป็นต้น ได้ข้อค้นพบจากการศึกษา ดังต่อไปนี้
                    กรณีที่  1  มูลนิธิฮักเมืองน่าน  ภาพตัวแทนความร่วมมือระหว่างพระภิกษุกับชุมชน  จากการ
           ศึกษาพบว่ามูลนิธิดังกล่าวสามารถเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็งในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งด้านป่า

           ไม้ ต้นน้ำ ดิน แม่น้ำลำคลอง ขยะมูลฝอยต่างๆ มีเครือข่ายครอบคลุมทั้งจังหวัด และได้ดำเนินกิจกรรม
           มามากกว่า 20 ปี โดยถือกำเนิดจากแนวคิดของพระครูพิทักษ์นันทคุณ เจ้าอาวาสวัดอรัญญาวาส อำเภอ
           เมือง  จังหวัดน่าน  ที่เห็นชาวบ้านตัดป่าไม้เพื่อทำเกษตรกรรม  ทั้งเผาป่า  และล่าสัตว์  จึงได้เริ่มนำธรรมะ

           ออกไปเพื่อเผยแผ่คำสอนถึงวิถีชีวิตที่สามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้ได้ จึงก่อให้เกิดโครงการและกุศโลบายต่างๆ
           ที่นำเอาพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาควบกับหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนามาดำเนิน
           กิจกรรมในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การบวชป่า สืบชะตาแม่น้ำ เป็นต้น
           อย่างไรก็ตาม  ความมีชื่อเสียงกลายเป็นความคาดหวังของทุกกลุ่ม  ทุกชุมชน  บางครั้งก็กลายเป็นปัญหา
           เพราะหาคนทำงานได้น้อย ส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครไม่มีเงินเดือน ประกอบกับปัจจุบัน เยาวชนรุ่นใหม่ให้

           ความสนใจในกิจกรรมลดลงและผลกระทบจากทุนนิยมทำให้จังหวัดน่านตกอยู่ในความเสี่ยงเรื่อง
           สิ่งแวดล้อมได้เช่นกัน (มูลนิธิฮักเมืองน่าน ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2554)
                    กรณีศึกษาที่ 2 หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำห้วยแม่พริก จังหวัดลำปาง ภาพตัวแทนการ

           ทำงานขององค์กรภาครัฐ  หน่วยนี้ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อจัดการพื้นที่ต้นน้ำลำธารของลำห้วยแม่
           พริกให้มีปริมาณที่เพียงพอ  มีคุณภาพดี  มีระยะเวลาการไหลตลอดทั้งปีอย่างสม่ำเสมอ  และป้องกันการ
           กัดเซาะพังทลายของดิน  รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาวบ้านในเขตต้นน้ำลำธารด้วย
           ปัญหาในชุมชนนี้มีหลายปัญหา  เช่น  ปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า  ส่วนใหญ่จะบุกรุกเพื่อทำการเกษตร  เช่น
           ข้าวโพด ปัญหาที่สำคัญมากที่สุดคือ เรื่องทุนนิยมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพด

           ทางหน่วยฯ ได้พยายามให้ความรู้เรื่องเกษตรพอเพียง เพราะวิถีชีวิตที่เป็นอุตสาหกรรมเกษตร ทำให้ชีวิต
           ดั้งเดิมเปลี่ยนไป ไม่นำไปสู่ความสุขแก่ชุมชน




           6   หมายถึง พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวรรค เล่มที่ 3 ข้อที่ 499 หน้าที่ 330
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51