Page 42 -
P. 42
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
36 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ลัย (พระไพศาล วิสาโล, 2546: 462) พระสงฆ์ที่ทำงานด้านอนุรักษ์ พัฒนา หรือเรียกว่าพระสังฆพัฒนา
เหล่านั้น ล้วนทำงานเชิงประยุกต์หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนากับการดำรงชีวิตของชุมชน โดย
เฉพาะงานด้านนิเวศวิทยาเพื่อให้งานนั้นประสานสอดคล้องระหว่างโลกกับธรรม
ประเด็นของการประยุกต์หลักธรรมเพื่อบูรณาการแนวคิดเพื่อการสร้างการตระหนักรู้และ
จิตสำนึกเพื่อสังคมในเชิงนิเวศวิทยาเชิงลึกที่ยั่งยืนที่คาดว่าจะเกิดจากการวิจัย ก็เพื่อเป็นการเสริมสร้าง
แนวทางของการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งจิต เศรษฐกิจ และสังคม โดยจะวิเคราะห์หาปัจจัยความเป็น
ไปได้ในการศึกษาทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพื่อทำให้เกิดองค์ความรู้ที่จะนำไปใช้เป็นฐานในการประยุกต์
สำหรับองค์กรอื่นๆ ต่อไป คณะผู้วิจัยเห็นว่าผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการชี้ให้เห็นถึงแนวคิดและ
วิธีการสร้างแนวคิดที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบ (role model) ได้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและผลกระทบ
2. เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบูรณาการกับนิเวศวิทยาในการเสริมสร้างสุขภาวะ
และการเรียนรู้ของสังคมไทยเพื่อการพัฒนาจิตและสังคมอย่างยั่งยืน
3. เพื่อวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบและความสัมพันธ์ของภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คณะสงฆ์ และภาคประชาชนในการบริหารจัดการนิเวศวิทยาเชิงพุทธเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา มุ่งศึกษาหลักการและคำสอนที่เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยา อันเป็น
หลักการสำคัญต่อการจัดการสภาวะแวดล้อมให้สมดุลและยั่งยืน ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา
ฎีกา คัมภีร์สำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดทั้งการศึกษากระบวนการบูรณาการหลักพุทธธรรมและหลัก
บรรษัทภิบาลในการสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติขององค์กร โดยใช้เอกสารและการทบทวนแนวคิด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกสาร เว็บไซต์ของกรณีศึกษาทั้ง 6 กรณี
2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ดำเนินการศึกษาครอบคลุมทุกภาคในประเทศไทย ทั้งส่วนกลางและ
ภูมิภาค เลือกศึกษาภาคละ 1 จังหวัด
3. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูล
สำคัญ (key informant) จากผู้บริหารองค์กรต่างๆ จำนวน 6 องค์กร/บุคคล โดย คณะผู้วิจัยได้ทำการ
สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) การคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ใช้
เกณฑ์คัดเลือกจากกรณีศึกษาที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของสังคม ได้แก่ ตัวแทนองค์องค์หรือหน่วยงานที่
ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ/หรือเป็นองค์กรที่ได้รับรางวัล CSR Award หรือ รางวัล
ลูกโลกสีเขียว เป็นองค์กรที่มีการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ในเรื่องนิเวศวิทยา ได้แก่ 1)
พระครูพิทักษ์นันทคุณ ตัวแทนมูลนิธิฮักเมืองน่าน จังหวัดน่าน (รางวัลลูกโลกสีเขียวปี 2544) 2) หน่วย