Page 40 -
P. 40
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
34 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
Samadhi, and Panna—was the dhamma that all sectors had already applied but may
have used different dhamma words. But the working process demonstrated that these
three dhammas cannot be separated, specifically in this research called “Buddhist
integral” and development will change according to the Dependent Origination or to
the states arise in dependence upon the related factors.Furthermore, if any organization
would apply the Threefold Training doctrine, it could hope that the ecology will be
nurtured successfully while attaining the sustainable mind and social development.
Keywords: integration of Buddhism and Ecological Work, Buddhist Ecology, Sustainable
Development.
บทนำ
ปัญหานิเวศวิทยาได้กลายมาเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมโลกและสังคมไทย แม้ว่าในช่วงเริ่ม
ต้นของการรณรงค์ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงทศวรรษ 1970-1980 จะมีบางกลุ่มที่มองว่าการ
เคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้นเป็นเหมือน “เรื่องเด็กเล่น” เมื่อเทียบกับปัญหาด้านการถูกกดขี่ขูดรีดและ
ไม่มีพลังเพียงพอที่จะขยับให้เป็นประเด็นทางการเมือง แต่ในที่สุดในช่วงทศวรรษ 1990 ได้เกิดสภาวะ
อากาศที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง ปัญหาเรื่องนิเวศวิทยาจึงกลายมาเป็นประเด็นการเมืองว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
ขึ้นมา (คริส บราเซียร์, (บก.), 2555: 59) ในปี ค.ศ. 1960-1970 เป็นช่วงที่มีความพยายามเสาะแสวงหา
แนวทางในการพัฒนาเกษตร มีความพยายามในการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ส่งผลอย่างชัดเจนต่อ
สภาพแวดล้อม การใช้ยาฆ่าแมลงในห่วงโซ่อาหาร การสะสมของสารเคมีในน้ำและดินเมื่อเก็บเกี่ยวพืช
อาหาร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความพยายามของนักคิดที่จะทำให้เกิดเกษตรยั่งยืน เพื่อที่จะแลกเปลี่ยน
แนวคิดแบบเกษตรอุตสาหกรรม การเกษตรทางเลือก โดยร่วมกันแสวงหาแนวทางที่เป็นจุดแข็งของทั้ง
การเกษตรทั้งสองแบบมานำเสนอใหม่ (วรรณดี สุทธินรากร, 2548: 131)
จากการประเมินระบบนิเวศวิทยาแห่งสหัสวรรษ (The Millennium Ecosystem
Assessment) ที่จัดทำโดยนักวิทยาศาสตร์ 1,360 คน จาก 95 ประเทศ ได้ระบุข้อมูลหลายชุดที่ตรงกัน
และแสดงความวิตกต่อสถานการณ์ระบบนิเวศระดับโลก เช่น ผืนดินโลกถูกนำไปใช้เพื่อการเพาะปลูกราว
24% หนึ่งในสี่ของปริมาณปลาทั้งหมดถูกจับกินเกินความจำเป็น นอกจากนี้ยังพบว่าพื้นที่ที่เป็น
ป่าชายเลน แนวปะการัง ป่าไม้ ล้วนถูกมนุษย์นำไปใช้ประโยชน์และทำลายมากขึ้น หากมนุษย์เราไม่ยอม
ใส่ใจดูแลระบบนิเวศอย่างจริงจังผลเสียหายจะเกิดแก่มนุษย์เอง (สเตฟาน ฮาร์ดิ้ง, 2556: 347-348)
สำหรับปัญหาระบบนิเวศในประเทศไทย ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ เช่น ปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย
ปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมโทรม ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ซึ่งปัญหาหลักมาจากความเจริญที่
เนื่องมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมรวมถึงการมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็ว ทำให้ความต้องการทรัพยากร ธรรมชาติมีมากขึ้นตามลำดับ การทำลายธรรมชาติจึงเกิดขึ้นทำให้
ธรรมชาติเสียสมดุล ยิ่งโลกมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมากเท่าใด ระบบนิเวศวิทยาก็เสีย
สมดุลมากขึ้นเท่านั้น และเป็นหน้าที่ที่ทุกคนจะต้องลุกขึ้นสู้ ดังที่อัล กอร์ (Al Gore, 2550: บทนำ) ผู้ซึ่ง