Page 35 -
P. 35
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 29
ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายในการบริหารจัดการป่าไม้ เพื่อให้เกิดการมี
ส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ดังนี้
1) การส่งเสริมให้ชุมชนออกแบบกติกา โดยให้ความสำคัญกับการร่วมกันกำหนดกติกา หรือ
บัญญัติของชุมชนในการจัดการ การใช้ประโยชน์ และการลงโทษผู้ฝ่าฝืน
2) การนำความเชื่อและจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากความเชื่อและภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่น เป็นสิ่งที่ถูกเรียนรู้และสั่งสมมาจาก
บรรพบุรุษในการจัดการทรัพยากรให้สอดคล้องสภาพของชุมชน ภูมิปัญญาในการจัดการอาจจะออกมา
ในรูปของกฎเกณฑ์ชุมชน ประเพณี หรือความเชื่อของชุมชนต่างๆ
3) การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น ซึ่งรัฐธรรมนูญรองรับ
สิทธิขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชนในมาตรา 6, 66, 78 (3)
และ 290 อย่างไรก็ดี การออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเป็นการพัฒนากฎหมายที่ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะ
ด้าน องค์กรปกครองท้องถิ่นอาจประสบปัญหาเกี่ยวกับการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องจัดเวที
แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ถูกต้องตาม
กฎหมายด้วย
4) การออกกฎหมายรองรับสิทธิของชุมชน ซึ่งการมีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติรับรอง
สิทธิของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ย่อมจะเป็นการแก้
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับหลักสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ
4. บทสรุป
ชุมชนร่มโพธิ์ทองมีการจัดการป่าโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนมี
ส่วนร่วมในกระบวนการจัดการป่า ใน 4 ขั้นตอน คือ การมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง การมีส่วนร่วมในการกำหนดและรักษา
กติกาป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนเกี่ยวกับป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง การมี
ส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว ส่งผลให้สมาชิกในชุมชนรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็น
เจ้าของ รวมทั้งการมีมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นย่อมเป็นหลักประกันที่
สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าของชุมชนได้เป็นอย่างดี
การวิเคราะห์บทบัญญัติเกี่ยวกับป่าในประเทศไทยพบว่า แม้ที่ผ่านมาหลักการการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการบริหารจัดการป่าจะถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 แต่ก็ยังปรากฎปัญหาทั้งในกระบวนการนิติบัญญัติและการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งอาจเป็นเพราะการ
ขาดกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมารองรับ ส่งผลให้การบังคับใช้สิทธิชุมชนถูกลดความสำคัญและไม่
ได้นำไปใช้อย่างแท้จริง ในงานวิจัยนี้จึงเสนอแนวทางการพัฒนากฎหมายคือ การส่งเสริมให้
ชุมชนออกแบบกติกา การนำความเชื่อและจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นมาใช้ในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น และการออก
กฎหมายระดับพระราชบัญญัติรองรับสิทธิของชุมชน ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย