Page 34 -
P. 34
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
28 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ยั่งยืน กรณีแรกเป็นปัญหาในกระบวนการนิติบัญญัติ ซึ่งประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการร่าง
กฎหมายจนได้ชื่อว่าเป็นร่างกฎหมายฉบับประชาชน แต่พบว่าในกระบวนการนิติบัญญัติได้มีการ
เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนเนื้อหา ซึ่งผิดไปจากเจตนารมณ์ของร่างกฎหมายฉบับประชาชน จน
ไม่สามารถออกกฎหมายที่เรียกว่าเกิดจากประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชนได้ ส่วนกรณีที่ 2
เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งแม้สิทธิของชุมชนจะถูกรองรับในรัฐธรรมนูญ
แต่การบังคับใช้กฎหมายก็ไม่ได้แสดงการรับรองสิทธิของชุมชนนั้น
3. แนวทางการพัฒนากฎหมายในการบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสมใน
ประเทศไทย
ผลการศึกษา พบว่า การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
ด้วยเหตุผล ดังนี้
1) แนวคิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มี 3 แนวทาง คือ 1) การจัดการโดยรัฐ
2) การจัดการโดยเอกชน และ 3) การจัดการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งนี้ แนวคิดการจัดการ
ทรัพยากรร่วม (Common-pool resource) ของเอลินอร์ ออสตรอม แสดงให้เห็นว่าการจัดการ
ทรัพยากรร่วมโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยหลักการออกแบบกติกา
(design principles)
2) ประสบการณ์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในประเทศต่างๆ พบว่า การบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ถูกรองรับด้วยกฎหมายระดับชาติและระดับ
ท้องถิ่นของประเทศต่างๆ โดยเชื่อว่าความร่วมมือกันของชุมชนจะสามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ดี แต่
จำเป็นต้องได้รับความสนใจจากรัฐ โดยการบัญญัติกฎหมายรับรองสิทธิของชุมชนและท้องถิ่น เพื่อ
ให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพได้
3) การศึกษาภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับ
กระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในกรณีป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง ตำบลคลองตะเกรา
อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า การบริหารจัดการป่าโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อให้
เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของป่าและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนร่วมกัน อันนำไปสู่ความร่วมมือในการดูแล
จัดการป่าชุมชนให้มีความยั่งยืน นอกจากนี้ มาตรการทางกฎหมายที่รองรับสิทธิของบุคคลและสิทธิของ
ชุมชนในการบริหารจัดการป่าและทรัพยาธรรมชาติเป็นสิ่งที่สมาชิกในชุมชนคาดหวังและเชื่อว่าจะเป็น
หลักประกันที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าของชุมชนได้
จากเหตุผลข้างต้นจึงสรุปได้ว่า เราควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างไรก็ดี แม้สิทธิของชุมชนจะถูกรับรองด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และมาตรา 67
ประกอบกับสิทธิขององค์กรปกครองท้องถิ่นในมาตรา 290 แต่ในด้านการบังคับใช้กฎหมายได้ปรากฏให้เห็น
ปัญหาการไม่ยอมรับการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง ดังกรณีปัญหาร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน
และกรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ
พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 มาตรา 6