Page 33 -
P. 33

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   27



             จัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในพื้นที่ด้วย
                      ในส่วนของกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ  การบริหารจัดการป่าปรากฎในพระราชบัญญัติที่
             เกี่ยวข้องอย่างน้อย  5  ฉบับ  ได้แก่  1)  พระราชบัญญัติป่าไม้  พ.ศ.  2484  2)  พระราชบัญญัติอุทยาน
             แห่งชาติ พ.ศ. 2504 3) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 4) พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
             พ.ศ. 2507 และ 5) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ความมุ่งหมายของพระราช

             บัญญัติแต่ละฉบับนั้นแตกต่างกัน  อย่างไรก็ดี  สิ่งที่ปรากฏร่วมกันในกฎหมายทุกฉบับก็คือ  พระราช
             บัญญัติทั้งหลายมีลักษณะเป็นการบังคับใช้แบบรัฐรวมศูนย์ กล่าวคือ มุ่งเน้นการให้อำนาจต่อเจ้าหน้าของ
             รัฐในการดูแล คุ้มครอง และลงโทษผู้ฝ่าฝืนกติกา

                      ส่วนที่ 2 การบังคับใช้กฎหมาย
                      งานวิจัยนี้  ขอยกตัวอย่างกรณีปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่ขัดกับหลักการการมีส่วนร่วมของ
             ประชาชนในการบริหารจัดการป่า ใน 2 กรณี ดังนี้
                                                     2
                      1)  กรณีปัญหาร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน   พบว่า  แม้รัฐธรรมนูญได้รับรองหลักการมีส่วนร่วม
             ของชุมชนในกระบวนการออกระเบียบกติกาเพื่อการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น  แต่กระบวนการนิติบัญญัติยังคงไม่

             สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว  โดยจะเห็นได้ว่าร่างกฎหมายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนนั้น
             เมื่อเข้าสู่กระบวนการนิติบัญญัติแล้ว  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ
             ทรัพยากรธรรมชาติตกไป จากร่างกฎหมายฉบับประชาชนกลายเป็นร่างกฎหมายฉบับ สนช. ซึ่งเป็นฉบับที่ได้รับการ

             วิพากษ์ว่าขัดต่อสิทธิของชุมชนที่ถูกรับรองในรัฐธรรมนูญ กรณีดังกล่าวนี้ในเวลาต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า
             กระบวนการตรากฎหมายไม่ถูกต้องจึงตกไปทั้งฉบับ
                      2)  กรณีคำพิพากษาของศาล  พบว่า  แม้รัฐธรรมนูญจะได้รับรองหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน
             ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้  แต่ในการบังคับใช้กฎหมายก็ยังคงปรากฏปัญหาว่า
             ชุมชนไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

             เช่น กรณีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยที่ 33/2554 เรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอ
             ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ.
                         3
             2504 มาตรา 6  เป็นต้น
                      สรุปได้ว่า ทั้งสารบัญญัติ และวีธีสบัญญัติ ในกฎหมายของไทย ไม่สอดคล้องกับหลักการการ
             มีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการป่าที่ถูกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
             พุทธศักราช 2550 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน มาตรา 66 และ
             มาตรา 67 ซึ่งได้วางหลักรับรองสิทธิของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และ
             การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมรวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและ


             2   (ดูเพิ่ม)  สำนักกฎหมาย  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.  เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน  พ.ศ....
                (พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะ เป็นผู้เสนอ) บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติ
                แห่งชาติในคราวประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  ครั้งที่  7/2550  วันพุธที่  7  กุมภาพันธ์  2550.  กรุงเทพมหานคร:
                สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, 2550.
              3
                 (ดูเพิ่ม) ศาลรัฐธรรมนูญ. คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ. คำวินิจฉัยที่ 33/2554 (วันที่ 23 พฤศจิกายน 2554).
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38