Page 28 -
P. 28
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
22 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 ตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการป่าชุมชน
คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำ และเจ้าหน้าที่รัฐ
2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสนทนากลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มแรก
คือ กลุ่มผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มตัวแทนคนในชุมชน
ผลการวิจัย
1. กระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่ป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
ชุมชนร่มโพธิ์ทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ติด
กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ 103 กิโลเมตร บ้านร่มโพธิ์ทองมี
ประชากรทั้งสิ้น 1,726 คน เพศหญิง 847 คน และเพศชาย 879 คน รวม 438 ครัวเรือน สมาชิกของ
ชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด และทำนา (องค์การบริหาร
ส่วนตำบลคลองตะเกรา, 2556)
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านร่มโพธิ์ทอง สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ช่วงก่อน
การจัดสรรหมู่บ้านป่าไม้หรือช่วงเป็นหมู่บ้านป่า 2) ช่วงการจัดสรรหมู่บ้านป่าไม้ และ 3) ช่วงการฟื้นฟู
ชุมชนและทรัพยากรป่าไม้ ในช่วงก่อนการจัดสรรหมู่บ้านป่าไม้ (พ.ศ. 2516-2529) มีชาวบ้านอพยพมาตั้ง
ถิ่นฐานในพื้นที่ประมาณ 4-5 ครัวเรือนเท่านั้น สภาพป่ายังอุดมสมบูรณ์มาก ระยะต่อมา ช่วงการจัดสรร
หมู่บ้านป่าไม้ (พ.ศ. 2530-2537) เริ่มต้นขึ้นเมื่อกองทัพภาคที่ 1 ได้ประกาศให้ป่าในบริเวณนี้เป็นเขตห้าม
บุคคลเข้าไปอยู่อาศัยด้วยเหตุผลของการป้องกันภัยคอมมิวนิสต์ ในปี พ.ศ. 2535 มีการประกาศขยาย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ชาวบ้านจึงต้องอพยพออกจากพื้นที่และได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน
แต่บางครัวเรือนตกการสำรวจเนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้สร้างความเข้าใจแก่ราษฏรอย่างทั่วถึงจึงก่อให้
เกิดการชุมนุมประท้วงอย่างยืดเยื้อของชาวบ้านที่อยู่รอบบริเวณป่า ในช่วงเวลาดังกล่าวชาวบ้านประสบ
ปัญหามากและชุมชนยังไม่สามารถรวมตัวกันได้ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2537 ภาครัฐได้จัดทำโครงการ
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสัตว์ป่า ภายในโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ โดย
สนับสนุนให้ทำไร่นาสวนผสม เจ้าหน้าที่รัฐได้รับแนวคิดในการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ
อนุรักษ์ป่าและเป็นที่มาของพัฒนาการช่วงที่ 3 คือ ช่วงการฟื้นฟูชุมชนและทรัพยากรป่าไม้ (พ.ศ. 2538-
2545) ชุมชนได้รับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ชุมชนเริ่มตื่นตัวในเรื่อง
การจัดการทรัพยากรป่าไม้โดยชุมชน เริ่มมีการรวมกลุ่มในชุมชนและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน
โดยมีเป้าหมายคือ การพึ่งตนเองและชุมชนในด้านเศรษฐกิจควบคู่กับการอนุรักษ์จัดการทรัพยากร
ท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ชุมชน
บ้านร่มโพธิ์ทองได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประเภทกลุ่มองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (ศูนย์
วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า-ประเทศไทย, ม.ป.ป.)
ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มชี้ว่า ก่อนทำป่าชุมชนนั้นคนในชุมชนร่มโพธิ์ทองส่วนใหญ่เป็นผู้ที่
อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่เดิมประกอบอาชีพหาของป่าล่าสัตว์ และถางป่าเพื่อทำไร่