Page 25 -
P. 25

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


             J. of Soc Sci & Hum. 41(2): 19-31 (2015)          ว. สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 41(2): 19-31 (2558)



                         การบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน:

                  กรณีศึกษาป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา*

                  The Management of Forestry through Community Participation:

                       A Case Study of Romphothong Community Forest,

                            Thatakiab District, Chachoengsao Province


                                                                    ผศ.ดร.กังสดาล เชาว์วัฒนกุล**
                                                   Asst. Prof. Dr. Kangsadan Chaowatthanakun



                                                  บทคัดย่อ


                      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
             เขตพื้นที่ป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง  อำเภอท่าตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทราตลอดจนมาตรการทางกฎหมายของ

             ประเทศไทยในการจัดการป่าและแนวทางการพัฒนากฎหมายในการบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมี
             ส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสมในประเทศไทย  ผลการศึกษาพบว่า  สมาชิกในชุมชนร่มโพธิ์ทองมีส่วนร่วม
             ในกระบวนการจัดการป่า  4  ขั้นตอน  ได้แก่การมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มป่าชุมชนร่มโพธิ์ทองการมี

             ส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการการมีส่วนร่วมในการกำหนดและรักษากติกาและการมีส่วนร่วมใน
             กิจกรรมเกี่ยวกับป่าชุมชนการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนดังกล่าวส่งผลให้สมาชิกในชุมชนรู้สึกมี
             ส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ  และทำให้สมาชิกยิ่งตระหนักถึงความสำคัญของป่าชุมชนที่เป็นแหล่งดำรง
             ชีวิตประจำวันจึงอาจกล่าวได้ว่าความสำเร็จของป่าชุมชนร่มโพธิ์ทองเกิดขึ้นจากชุมชน  การทบทวน
             มาตรการทางกฎหมายในต่างประเทศ  พบว่ามาตรการทางกฎหมายที่รองรับสิทธิของชุมชนในการจัดการ

             ทรัพยากรธรรมชาติจะส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ประสบความสำเร็จได้
             อย่างไรก็ตาม  แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ.  2550  มาตรา66และมาตรา  67  ได้วางหลัก
             รับรองสิทธิของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่กฎหมายระดับ



             *  บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งจากโครงการวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน: จากวิถีชุมชนสู่มาตรการทาง
                กฎหมาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทุนอุดหนุนนวิจัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี 2557
               This article is part of a research project “Forest management by community participation: The community
                way through the legislative measures”, supported by Kasetsart University, 2014.
             **  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               Lecturer, Department of Sociology and Anthropology, Faculty of Social Sciences, Kasetsart University.
                Corresponding author,  e-mail : fsockdc@ku.ac.th
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30