Page 20 -
P. 20

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           14     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           ในสังคม ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง ฯลฯ อย่างกว้างขวาง
                    นอกจากนี้ควรขยายแง่มุมการพิจารณาเรื่องผลการเปลี่ยนแปลงและดูขบวนการทางสังคมใหม่
           เช่น  ขบวนการเคลื่อนไหวด้านอัตลักษณ์ต่างๆ  ที่อาจจะไม่ได้ผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
           แต่มีพื้นที่อยู่ในสังคม  มุ่งเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยมของผู้คนในสังคม  ในมิตินี้การศึกษาที่ปรากฏอยู่
           อาจจะยังมีน้อยมาก  เราควรพัฒนาการศึกษาและการสร้างตัวแปรตัวชี้วัดเพื่อขยายองค์ความรู้ให้กว้าง

           ออกไปมากยิ่งขึ้น
                    ประการที่สาม  ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบเพื่อหาบทเรียนบางประการ  เช่น  เปรียบเทียบหา
           ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ  (หรือล้มเหลว)  เพื่อตอบคำถามว่า  ทำไมบางกลุ่มองค์กรเติบโตและมี

           พัฒนาการที่ดี สามารถสร้างผลต่อการเปลี่ยนแปลงได้มาก แต่บางขบวนการกลับตกต่ำ ถดถอย หรือล้ม
           หายตายจากไปข้อสังเกตคือ  มีงานศึกษาไม่มากนัก  เพราะเรามักสนใจเฉพาะขบวนการเคลื่อนไหวที่ใหญ่
           มีพลังการสร้างอิทธิพล
                    ประการที่สี่  ในมิติการสร้างอิทธิพลหรือยุทธิวิธีการเคลื่อนไหวผลักดัน  การศึกษาโดยอาศัย
           กรอบกลุ่มผลประโยชน์ที่ผ่านมามักจะกล่าวเพียงให้เห็นแต่ภาพด้านกว้างของกลุ่มผลประโยชน์ที่ศึกษา

           หรือว่าผู้นำของกลุ่มมีความสัมพันธ์กับผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองหรือรัฐบาลอย่างไร  แต่ไม่มีงานที่
           ให้ภาพในเชิงลึกว่า มีการใช้วิธีการอย่างไรในการล็อบบี้ (ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงข้อมูล)
                    หากเทียบเคียงกับงานของนักวิชาการต่างประเทศ (เช่น Nownes, 2013) ได้ศึกษาให้เห็นการ

           ล็อบบี้ในช่องทางต่างๆ  ทั้งรัฐบาล  รัฐสภา  และศาล  แต่งานในสังคมไทยยังสนใจแต่เฉพาะฝ่ายบริหาร
           เท่านั้น  ซึ่งควรขยายพื้นที่การศึกษาออกไป  ในช่วงหลังการปฏิรูปการเมืองนับแต่รัฐธรรมนูญ  2540
           เป็นต้นมา  ในสังคมการเมืองไทยเกิดสถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆ  โดยเฉพาะองค์กรอิสระต่างๆ
           ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากแต่ไม่มีงานศึกษาที่ดูปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพลังทางสังคมการเมืองกับองค์กร
           เหล่านี้เลย

                    นอกจากนี้  ในบริบทซึ่งมีการเติบโตขึ้นของพื้นที่สื่อหรือพื้นที่ทางสังคมต่างๆ  อย่างกว้างขวาง
           การศึกษาการสร้างอิทธิพล  ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวกลับไม่ค่อยให้ความสนใจในพื้นที่เหล่านี้  การศึกษา
           ขบวนการเคลื่อนไหวของประชาชนและขบวนการคนจน  ยังให้ความสนใจแต่การเดินขบวนและ

           ชุมนุมประท้วงเป็นมิติหลัก  ซึ่งควรจะมีการศึกษาเพื่อให้เห็นพลวัตของการสร้างพลังที่สัมพันธ์กับบริบท
           ทางเศรษฐกิจ-การเมืองและสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก
                    ประการที่ห้า ควรศึกษาฝ่ายต่อต้านขบวนการ ฝ่ายปรปักษ์ หรือกลุ่มซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้าม รวม
           ทั้งการศึกษาด้านรัฐ  ท่าทีรัฐและการปราบปรามของฝ่ายรัฐทั้งๆ  ที่การทำความเข้าใจในมิติดังกล่าวนี้มี
           ความสำคัญต่อการเป็นบทเรียนสำหรับขบวนการเคลื่อนไหวเป็นอย่างมาก

                    ประการที่หก  ควรมีการศึกษาเชิงปริมาณในแง่มุมของการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง
           ตัวแปร  มีการศึกษาโดยอาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อให้ได้คำตอบในภาพรวม/ภาพด้านกว้างหรือ
           การอธิบายระดับประชากรแทนที่จะศึกษาในลักษณะแค่กรณีศึกษาดังที่นิยมกัน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25