Page 16 -
P. 16

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           10     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           เมืองนอกเชิงสถาบันทุกรูปแบบเข้าไปอยู่ในประเภทวิธีการล็อบบี้แบบทางอ้อม  เช่น  อารยะขัดขืน
           ปฏิบัติการซึ่งหน้าท้าทาย (direct action) นี่ก็เป็นสิ่งที่กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบกลุ่มผลประโยชน์
           ได้ขยายไปครอบการอธิบายของกรอบการวิเคราะห์แนวทฤษฎีขบวนการทางสังคม  แต่ในทัศนะของผู้
           เขียน (ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) มองว่า หากเราเข้าใจหัวใจของทฤษฎีขบวนการทางสังคมในลักษณะของการ
           ขยายการวิเคราะห์ก็จะทำให้ไม่เกิดคำถามว่าทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้แล้วจึง

           ไม่จำเป็นต้องมีทฤษฎีขบวนการทางสังคม
                    ประการต่อมา  ในการศึกษาการสร้างอิทธิพล  ยังมีคำถามสำคัญในเชิงการหาความสัมพันธ์เชิง
           เหตุ-ผลว่า เหตุใดหรือทำไมกลุ่มทางสังคมการเมืองบางกลุ่มสามารถสร้างอิทธิพล หรืออำนาจการต่อรอง

           ได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ  สามารถสร้างผลสำเร็จหรือผลสะเทือนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ  หรือการ
           เปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
                    นักวิชาการได้วิเคราะห์ว่าการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มต่างๆ  นั้น  เงื่อนไข
           และปัจจัยที่จะทำให้กลุ่มใดจะประสบความสำเร็จในการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่สมาชิกขึ้นอยู่
           กับเงื่อนไขและปัจจัยบางประการ  ดังเช่นงานของจุมพล  หนิมพานิช  ได้เสนอให้เห็นว่า  ปัจจัยหรือ

           องค์ประกอบที่เป็นเงื่อนไขต่อความสำเร็จในการต่อสู้แข่งขัน  จากประสบการณ์ของกลุ่มผลประโยชน์และ
           กลุ่มผลักดันในสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นงานศึกษาของ  อัสติน  แรนเนย์  (Austin  Ranney)  และพบว่ามี
           ปัจจัยที่สำคัญ 4 ประการคือ ขนาดของกลุ่ม สถานภาพทางสังคม ความสามัคคีของกลุ่ม และภาวะผู้นำ

           หรือความเป็นผู้นำ (Ranney, (1972) อ้างใน จุมพล หนิมพานิช, 2552: 59-62)
                    รังสรรค์  ธนะพรพันธุ์  (2546)  อธิบายกรอบการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลและ
           บทบาทอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อกระบวนการกำหนดนโยบายไว้คล้ายคลึงกัน  คือ
           ขนาดของกลุ่ม  สถานภาพทางสังคมผู้นำที่ชาญฉลาดและเข้มแข็ง  (ซึ่งก็คือภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ)
           และความชัดเจนของขอบข่ายผลประโยชน์  ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งงานของรังสรรค์  ธนะพรพันธ์  และจุมพล

           หนิมพานิช เสนอให้พิจารณามิติปัจจัยด้านภายในองค์กร
                    อย่างไรก็ดี อัลเลน บอล (Ball, 1986) ได้เสนอให้พิจารณามิติด้านเงื่อนไขปัจจัยภายนอกกลุ่ม
           หรือเงื่อนไขบริบทแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมที่มีผลต่อการสร้างอิทธิพลหรือพลังการต่อ

           รอง  การเคลื่อนไหวของกลุ่ม  อันได้แก่  ลักษณะการปกครอง  ลักษณะของระบบพรรค  และวัฒนธรรม
           ทางการเมือง เขายังได้เสนอปัจจัยภายในด้านองค์กรหรือลักษณะภายในของกลุ่ม ได้แก่ เป้าประสงค์ของ
           กลุ่ม (aims and objectives) การจัดองค์กรของกลุ่ม (organization) สมาชิกภาพ (membership)
           และทรัพยากรของกลุ่ม (resources)
                    ผู้เขียนเห็นว่าในการตอบคำถามดังกล่าวนี้  ทฤษฎีการระดมทรัพยากรได้วิเคราะห์ขยายราย

           ละเอียดมากยิ่งขึ้นในด้านปัจจัยภายในองค์กรและได้ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยด้าน
           ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวต่อสู้ (ดู McAdam, Doug. 1982 และ 1983) กระบวนการสร้างกรอบโครงความ
           คิด (framing process) (ดู Snow and Benford, 2000) ฯลฯ ส่วนปัจจัยด้านบริบทของเศรษฐกิจ-

           การเมือง และสังคม แม้จะมีงานเขียนของนักทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์ เช่น อัลเลน บอล ดังที่ได้พิจารณามา
           แต่นักทฤษฎีการระดมทรัพยากรได้พัฒนาการวิเคราะห์ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้นและเรียกว่า  “โครงสร้าง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21