Page 12 -
P. 12
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
6 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ตัวขึ้นของการรวมกลุ่มในสังคมไทยนับแต่ราวปลายทศวรรษ 2520 เป็นต้นมา ทำให้เกิดกรอบการ
วิเคราะห์หรือการให้ความหมายของการเมืองภาคประชาชนและบทบาทของประชาสังคมว่าเข้ามาทำหน้าที่
ในการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย ประชาสังคมและการเมืองภาคประชาชนได้กลายเป็นทั้งเป้าหมาย
และกระบวนการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยของไทย
แต่อย่างไรก็ดี ในระยะตั้งแต่เกิดความขัดแย้งทางการเมืองของสีเสื้อ การก่อตัวขึ้นของ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้
เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" (กปปส.) ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรา
ไม่สามารถเหมารวมได้อีกต่อไปว่า การรวมกลุ่มหรือการเกิดกลุ่มพลังทางสังคมการเมืองเป็นจุดหมาย
และกระบวนการสร้างประชาธิปไตยแบบอัตโนมัติ การรวมกลุ่ม การขับเคลื่อนด้วยการชุมนุมประท้วงไม่
ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์สำหรับการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยได้เสมอไป นั่น
หมายความว่า มีความจำเป็นที่การวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ในมิติด้านการสร้างประชาธิปไตยของกลุ่มผล
ประโยชน์หรือกลุ่มผลักดัน จำเป็นต้องมองเห็นถึงกลุ่มที่มีลักษณะของการรักษาสถานภาพเดิม มี
ลักษณะการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม หรือบางครั้งกลุ่มเหล่านี้ก็เชื่อมโยงกับการรัฐประหารยึดอำนาจที่มุ่ง
การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่มีลักษณะของทำลายระบอบประชาธิปไตยมากกว่าการสร้างและ
จรรโลงประชาธิปไตย ซึ่งงานศึกษาหน้าที่และบทบาทของกลุ่มในมิติเช่นนี้อาจกล่าวได้ว่ายังไม่มีเลย
สำหรับการศึกษากลุ่มพลังทางสังคมและการเมืองในสังคมไทยช่วงปัจจุบัน
2.2 ประเด็นถกเถียงในเรื่องประเภทของกลุ่มผลประโยชน์
หนังสือและตำราเกี่ยวกับทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์มักจะมีการจัดประเภทหรือลักษณะของกลุ่ม
ผลประโยชน์เอาไว้เสมอ และที่นิยมอ้างอิงกันมากที่สุดก็คือ งานของ Almond and Powell (1974) ซึ่ง
ได้แบ่งกลุ่มผลประโยชน์ออกเป็น 4 ประเภท โดยมองไปยังมิติของความเป็นสถาบันทางการเมือง (มอง
จากกลุ่มแบบชั่วครั้งชั่วคราวไปจนถึงกลุ่มเชิงสถาบันที่ลงหลักปักฐานในระบบและโครงสร้างทางการเมือง)
กล่าวคือ 1.กลุ่มผลประโยชน์แบบฉับพลัน (anomic interest group) 2.กลุ่มผลประโยชน์ที่มีโครงการ
สร้างแบบหลวมหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่ได้จัดตั้งเป็นทางการ (non-associational interest group)
3.กลุ่มผลประโยชน์แบบสถาบัน (institutional interest group) และ 4.กลุ่มผลประโยชน์ที่จัดตั้งในรูป
แบบสมาคม (associational interest group) (อาจจะกล่าวได้ว่า งานเขียนซึ่งเป็นตำราภาษาไทยอาศัย
การแบ่งตามแนวของ Almond and Powell เช่น พฤฒิสาณ ชุมพล,ม.ร.ว., 2550; จุมพล หนิมพานิช,
2545 ฯลฯ)
การแบ่งอีกแบบหนึ่งที่นิยมกันก็คือ แบ่งประเภทกลุ่มผลประโยชน์ตามลักษณะของอาชีพหรือ
ภาคส่วน หรือตามลักษณะทางสังคมประชากรของสมาชิกกลุ่ม เช่น กลุ่มสมาคมทางธุรกิจ (economic
groups) กลุ่มด้านศาสนาวัฒนธรรม (spiritual groups) กลุ่มด้านศิลปะและการพักผ่อนหย่อนใจ
(artistic-recreational organizations) กลุ่มในระดับท้องถิ่น (associations of local governments)
กลุ่มผลประโยชน์ด้านสาธารณะกุศล (public interest groups) กลุ่มด้านชาติพันธุ์ (ethnic groups)
การแบ่งประเภทอีกแบบหนึ่งได้อาศัยเกณฑ์ในเรื่องลักษณะของผลประโยชน์ กล่าวคือ ผล
ประโยชน์ผลประโยชน์เชิงวัตถุ (materialist value) กับผลประโยชน์ที่ไม่ใช่วัตถุ (non-materialist