Page 8 -
P. 8

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           2     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           ส่วนที่ทำให้เกิดการตกลงใจตัดสินใจทางการเมือง  ทุกกลุ่มปรารถนาที่จะมีอำนาจทางการเมือง  ดังนั้น
           การแข่งขันกันเพื่อแสวงหาอำนาจทางการเมืองจึงปรากฏขึ้นอยู่เสมอภายใต้ระบบการเมือง  ซึ่งหากกลุ่มใด
           สามารถเข้าถึงอำนาจทางการเมืองก็จะส่งผลให้กลุ่มเข้ามามีบทบาทในกระบวนการกำหนดนโยบาย
           สาธารณะของรัฐได้มากกว่ากลุ่มอื่นๆ  โดยนักวิชาการได้อธิบายที่มาหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดการการรวมตัว
           กันเป็นกลุ่มเกิดขึ้น  การให้ความสำคัญกับกลุ่มผลประโยชน์ในการทำความเข้าใจกับการเมืองมีที่มาส่วน

           หนึ่งจากทฤษฎี  “การเมืองเป็นเรื่องของกลุ่ม”  (group  theory  of  politics)  อาร์เธอร์เบนท์ลี  (Arthur
           Bentley)  เป็นผู้ริเริ่ม  โดยเสนอว่า  กิจกรรมกลุ่มเป็นลักษณะที่จำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ของระบบ
           การเมืองไม่ว่าระบบการเมืองใด  (Bentley,  1908  อ้างใน  พฤฒิสาณ  ชุมพล,ม.ร.ว.,  2550)  ดังนั้น  ใน

           แง่มุมการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้  การศึกษาการเมืองจึงต้องไม่จำกัดอยู่แต่การวิเคราะห์การเมืองเชิง
           โครงสร้างและสถาบันทางการเมือง  แต่จะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการของการที่กลุ่มพลังในสังคม
           การเมืองเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับนโยบายหรือกติกาที่สถาบันทางการเมืองผลิตออกมา
                    นักคิดที่สำคัญของทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์อีกท่านหนึ่งคือ เดวิท ทรูแมน (David B. Truman)
           ได้เสนอตัวแบบ  “เสถียรภาพ-ความระส่ำระสาย-การประท้วง”  (stability-disruptive-protest)  (อ้างใน

           พฤฒิสาณชุมพล,ม.ร.ว.,  2550)  โดยมองถึงพื้นฐานของการเกิดกลุ่มว่า  สังคมเป็นระบบที่อยู่ในสภาพ
           ดุลยภาพ (equilibrium) แต่บางครั้งดุลยภาพก็เสียไปเพราะนโยบายเปลี่ยนหรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ
           ซึ่งส่งผลกระทบในทางลบต่อผลประโยชน์ของบางส่วนของสังคม ผู้คนในส่วนนั้นของสังคมจึง “ประท้วง”

           โดยก่อตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์และมีการกระทำทางการเมืองขึ้นมา ผู้คนมารวมกลุ่มเพราะเกิดสำนึกว่ามี
           ผลประโยชน์ร่วมกันและเห็นีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการกระทำการทางการเมือง
           เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาดังกล่าว
                    สมมติฐานสำคัญของ เดวิท ทรูแมน ก็คือ การมองว่า ปัจเจกบุคคลรู้อยู่แล้วว่าผลประโยชน์
           ของเขาคืออะไรและปัจเจกบุคคลต้องรู้ว่ามีใครอื่นที่มีผลประโยชน์อย่างไร  การก่อตั้งกลุ่มผลประโยชน์

           และดำเนินกิจกรรมทางการเมือง  หรือกล่าวอีกนัยคือ  ผู้คนรวมตัวกันเป็นกลุ่มผลประโยชน์เพื่อให้ได้มา
           ซึ่งผลประโยชน์โดยวิธีการทางการเมือง นัยทางทฤษฎีเช่นนี้จึงเป็นการโต้แย้งแนววิเคราะห์พฤติกรรมรวม
           หมู่ที่ให้ความสำคัญกับมิติทางจิตวิทยา (ดูประภาส ปิ่นตบแต่ง, 2552 บทที่ 1 ) ซึ่งอธิบายการเกิดกลุ่มว่า

           มาจากภาวะขับข้องใจ  การถูกลิดรอนเชิงเปรียบเทียบ  ฯลฯ  มากกว่าจะเป็นมิติทางการเมืองหรือเป็นการ
           คำนวณผลได้ผลเสีย การอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือเพื่อรักษา ปกป้อง หรือต่อรองให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์
           ของปัจเจกบุคคล
                    ต่อมาได้พัฒนาเป็นทฤษฎีประชาธิปไตยแบบพหุนิยมขึ้นมาจากทฤษฎีกลุ่ม  ทฤษฎีพหุนิยมได้
           เข้ามาเสริมทฤษฎีประชาธิปไตยแบบตัวแทน  โดยชี้ให้เห็นความจำกัดของกิจกรรมทางการเมืองที่อาศัย

           การมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นเป็นวาระเท่านั้น  การรวมตัวเป็นกลุ่มผล
           ประโยชน์เป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สำคัญที่ประชาชนจะผลักดันให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการ
           เมืองดำเนินการตามความต้องการของกลุ่มที่รวมตัวกัน  อเล็กซิส  เดอ  ต็อกเกอวิลล์  (Alexis  de

           Tocqueville)  กล่าวถึงประชาธิปไตยในอเมริกาว่า  สิ่งที่ไม่พบเห็นในประเทศอื่นๆ  ในโลกก็คือ  การรวม
           กันเป็นสมาคมหรือกลุ่มของผู้คนที่มีอย่างมากมาย  เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นสมาคมคือสิ่งจำเป็นและ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13