Page 11 -
P. 11

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   5



                      4.หน้าที่ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (policy process) ซึ่งก็คือ บทบาทในกระบวนการ
             กำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งในการประเมินนโยบายด้วย (ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ
             เรามักจะสนใจพิจารณาบทบาทของกลุ่มในกระบวนการกำหนดนโยบายเท่านั้น  ไม่มีการกล่าวถึงหรือ
             ศึกษาบทบาทในวงจรชีวิตนโยบายในมิติการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินนโยบาย  ซึ่งจะกล่าวถึง
             อีกครั้งในส่วนสถานภาพการศึกษาวิจัย) กลุ่มผลักดันทำหน้าในการเชื่อมต่อกับพรรคการเมืองและรัฐบาล

             ในการป้อนข้อมูลต่อการตัดสินตกลงใจของรัฐบาลและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทางการเมือง  และต่อ
             กระบวนนโยบายสาธารณะขั้นตอนอื่นๆ
                      แต่อย่างไรก็ดี  มีข้อสังเกตคือ  งานเขียนหรือตำรากลุ่มกลุ่มผลประโยชน์ที่ปรากฏอยู่ในวง

             วิชาการของไทยมักให้ความสนใจเฉพาะบทบาทหน้าที่ในด้านบวกและเหมารวมโดยอัตโนมัติว่า  การมี
             กลุ่มพลังทางสังคมการเมืองที่หลากหลายและเข้ามามีบทบาทในระบบการเมืองเป็นสิ่งที่ดีงามต่อการสร้าง
             และจรรโลงประชาธิปไตยในตัวเอง แต่ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า กลุ่มฯก็มีบทบาทหน้าที่ในด้านลบต่อระบบ
             การเมืองด้วย  ปฏิบัติการของกลุ่มผลักดันบางครั้งใช้วิธีการที่ไม่มีความชอบธรรม  เพิ่มความไม่เท่าเทียม
             กันทางการเมืองก็ได้ ดังข้อสังเกตบางประการที่มีต่อไปนี้

                      1.กลุ่มมักใช้วิธีการสร้างอิทธิพลแบบหลังฉาก อยู่ในห้องลับๆ ไม่โปร่งใส ตรวจสอบยาก ไม่ที่
             เป็นที่รับรู้ของผู้คนโดยทั่วไป  ไม่มีใครรู้ว่าใครพูดกับใครด้วยเรื่องอะไร  ซึ่งอาจเป็นอำนาจที่ขาดความ
             รับผิดชอบ และการส่งเสริมให้เกิดคณาธิปไตยและการตัดสินใจแบบเผด็จการเสียงส่วนน้อยที่ผูกขาดโดย

             บางกลุ่มคน เพราะโดยธรรมชาติแล้วกลุ่มผลประโยชน์เป็นตัวแทนของคนส่วนน้อยมากกว่าคนส่วนใหญ่
                      2.แม้ว่ากลุ่มผลประโยชน์จะสร้างหลักประกันไม่ให้เกิดเผด็จการอำนาจนิยม  แต่อีกด้านหนึ่งก็
             สร้างปัญหาในทางตรงกันข้ามเพราะกลุ่มมักสนใจแต่ผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มที่ไม่ครอบคลุมผลประโยชน์
             ของคนในวงกว้างของสังคม  ในสังคมที่กลุ่มผลักดันบางกลุ่มผูกขาดก็จะเป็นการยากที่จะทำให้รัฐบาล
             ที่มาจากการเลือกตั้งตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่

                      3.กลุ่มผลักดันแบบวงนอกที่ใช้วิธีการแบบกระทำการโดยตรงก็มักจะมีลักษณะที่ไม่ยอมรับต่อ
             กฎหมาย  กติกา  หรือสถาบันที่ลงหลักปักฐานซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ล่อแหลมต่อการละเมิดกระบวนการของ
             ประชาธิปไตย

                      4.การเมืองแบบกลุ่มอาจเกิดคำถามต่อความชอบธรรมของผู้นำกลุ่ม นักล็อบบี้ และความเป็น
             ตัวแทนเนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการที่เป็นทางการ  หรือแม้ได้มาจากการเลือกตั้งก็มาจากการลง
             คะแนนเสียงของคนไม่มากนัก (เช่น ผู้นำสหภาพแรงงาน ฯลฯ) กลายเป็นว่ามีคนจำนวนไม่มากที่ทำงาน
             อยู่ในการเมืองแบบวงในที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยแบบวงใน” หรือประชาธิปไตยของคนวงใน
                      5.การเมืองแบบกลุ่มอาจจะยิ่งสร้างความไม่เท่าเทียมกันของคนในสังคม  กลุ่มผลักดันมักจะ

             เป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชนที่มีทรัพยากรมาก  มีความเชี่ยวชาญและมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับรัฐบาลหรือ
             พรรคการเมือง  ไม่ได้มีลักษณะเป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่หรือเป็นเพียงตัวแทนปากเสียงของคนส่วน
             น้อยเท่านั้น

                      กรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับปรากฏการณ์กลุ่มพลังทางสังคมการเมืองในปัจจุบัน  โดยเฉพาะการ
             รวมกลุ่มที่เรียกกันว่า “ประชาสังคม” หรือ “ภาคประชาชน” (หรือการเมืองภาคประชาชน) ซึ่งการปรากฏ
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16