Page 9 -
P. 9
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 3
จะเป็นหลักประกันที่รวมกันในการต่อสู้กับศัตรู (หมายถึงรัฐบาล) ยิ่งประชาชนมีความอ่อนแอไม่มีอำนาจ
และบทบาทใดแล้วนั้น ก็จะยิ่งทำให้รัฐบาลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มองในแง่นี้ รัฐประชาธิปไตยจึงควร
สนับสนุนให้มีการตั้งสมาคมหรือกลุ่มต่างๆ ขึ้น ให้มีความเข้มแข็งและสามารถทำหน้าที่ชดเชยสิทธิของ
ปัจเจกบุคคลที่อ่อนแอได้
ดังนั้น เมื่อมองในแง่การสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย จึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยปัจจัยด้านการ
รวมกลุ่มของผู้คน ลักษณะพหุสังคม การมีรวมกลุ่มก้อนของผู้คน อันจะทำให้ประชาชนพลเมืองสามารถ
ติดต่อกับรัฐบาล จูงใจรัฐบาลให้กำหนดนโยบายและบริหารงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของตน ดังนั้น
เครื่องมือที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือการจัดตั้งเป็นกลุ่มทางสังคมการเมือง กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบ
กลุ่มผลประโยชน์จึงเกิดขึ้นมาเพื่ออธิบายการเมืองในประเทศประชาธิปไตยในตะวันตก ซึ่งระบอบ
การเมืองและโครงสร้างของระบบการเมือง สถาบันทางการเมือง ตลอดจนกระบวนการทางการเมือง
ได้ลงหลักปักฐานแล้ว กล่าวคือ ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวที่มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง
การเมืองแบบกลุ่มผลประโยชน์ จึงสนใจการเมืองของการกระจายทรัพยากรในสังคม (Politics of
Redistribution) พิจารณาว่ากลุ่มต่างๆ แข่งขันกันกันสร้างอิทธิพลเพื่อให้รัฐบาลและผู้มีอำนาจตัดสินใจ
ทางการเมืองตัดสินตกลงใจหรือกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนอย่างไร มากกว่าจะ
เป็นการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหรือระบอบ
เมื่อมีการนำทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์เข้ามาศึกษาในสังคมไทย จึงมักให้ความสนใจลักษณะ
ของกลุ่มผลประโยชน์ในสังคมไทยว่ามีอย่างหลากหลายมากน้อยแค่ไหน เหมือนหรือใกล้เคียงกับ
ประเทศที่เจริญแล้วหรือไม่อย่างไร งานบุกเบิกสำคัญก็คือ งานของ Fred W. Riggs ซึ่งพบว่า สังคมไทย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ยังคงมีลักษณะเป็น “รัฐราชการ” ไม่มีองค์กรนอกภาครัฐ
(Extra-Bureaucracy) หรือไม่มีกลุ่มทางสังคมการเมืองนอกจากกลุ่มข้าราชการที่อาจจะสลับกันมีอำนาจ
ระหว่างข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือน งานเขียนที่ทำงานต่อจากงานของ Riggs ก็คือ งานของ
มนตรี เจนวิทย์การ (2517) ที่พยายามทำให้เห็นว่า ที่จริงสังคมไทยเริ่มมีรอยปริออกจากมารัฐ กล่าวคือ
เริ่มมีองค์กรนอกภาครัฐแต่ก็ยังอยู่ในการกำกับควบคุมโดยรัฐ กล่าวคือ รัฐได้ส่งเสริมให้มีการรวมเป็น
กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ มีลักษณะเป็นการที่รัฐเข้าไปควบคุมกำกับ โดยการจัดตั้งขึ้นอยู่กับการ
อนุญาตโดยรัฐเท่านั้น และอาศัยการควบคุมโดยกลไกกฎหมายด้วยการออก พ.ร.บ.สมาคมการค้า
พ.ศ. 2509 ห้ามจัดตั้งสมาคมธุรกิจที่อาจดำเนินการที่เป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของรัฐ
ควบคุมกำกับและใช้สมาคมธุรกิจการค้าเป็นเครื่องมือทางนโยบายสาธารณะด้วยการควบคุมการประกอบ
กิจการบางประเภท ควบคุมสินค้าส่งออก ฯลฯ ดังบทบัญญัติคือ ห้ามมิให้สมาคมการค้าดำเนินกิจกรรม
ทางการเมือง ห้ามมิให้มีสมาชิกที่มิใช่สัญชาติไทยมากกว่ากึ่งหนึ่ง ห้ามจัดตั้งนอกจังหวัดพระนครหรือ
ธนบุรี ห้ามให้เงินแก่ผู้ใดหรือองค์กรใด เว้นแต่จะเป็นเรื่องสาธารณกุศล ฯลฯ
ตัวอย่างเช่น หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่จัดเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่
จัดตั้งในรูปแบบสมาคม (Associational Interest Group) ซึ่งมีการก่อตั้งและดำรงสถานภาพการเป็น
องค์กรกลางของผู้ประกอบการภาคเอกชนทั่วไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติหอการค้าไทย
พ.ศ.2509 ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทในการสร้างเงื่อนไขหรือต่อรองเชิงอำนาจกับภาครัฐโดยอาศัยการจัดตั้ง