Page 17 -
P. 17
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 11
โอกาสทางการเมือง” ซึ่งก็คือ บริบทแวดล้อมทางสังคมการเมืองที่เอื้อหรือเป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่ม
ก้อน เช่น ระบอบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย สังคมซึ่งมีพื้นที่สาธารณะที่เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถรวม
ตัวเคลื่อนไหวต่อสู้อย่างกว้างขวาง ย่อมเอื้อต่อการรวมกลุ่มก้อนของผู้คนและเอื้อต่อการสร้างพลังต่อรอง
ได้มากกว่า (ดู ประภาส ปิ่นตบแต่ง, 2552: บทที่ 4) ปัจจัยภายนอกองค์กรที่มีผลต่อการสร้างอิทธิพล
รวมถึงกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ หรือฝ่ายต่อต้านการเคลื่อนไหวผลักดัน เพราะการเคลื่อนไหวเพื่อบรรลุ
จุดหมายของกลุ่มมักจะทำให้เกิดการเสียประโยชน์ของกลุ่มอื่นๆ เสมอ
ข้อสังเกตคือ การศึกษากลุ่มผลประโยชน์ที่ปรากฏในรูปแบบวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ รวมทั้ง
งานวิจัยในสังคมไทยยังไม่มีงานที่พยายามขยายการวิเคราะห์เงื่อนไข ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างอิทธิพล
รวมทั้งในระดับการหาความสัมพันธ์ในเชิงเหตุ-ผลและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ซึ่งน่าจะมีงานบุกเบิกใหม่ๆ
ขยายมาศึกษาในมิติเหล่านี้บ้าง
2.4 กรอบวิเคราะห์การเมืองแบบกลุ่มผลประโยชน์ VS กรอบวิเคราะห์แบบขบวนการทางสังคม
ความหมายของกลุ่มผลประโยชน์ มีนักวิชาการได้ให้นิยามไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งจะไม่ขอนำ
มากล่าวถึงในที่นี้ (โปรดดูนิยามโดย เดวิท ทรูแมน อ้างใน ไมตรี อินทสุต,2523) มนตรี เจนวิทย์การ,
2517 ; จุมพล หนิมพานิช, 2545) โดยสรุปอาจจะกล่าวได้ว่า กลุ่มผลประโยชน์ คือ การรวมตัวของ
ปัจเจกบุคคลเพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่ม แต่ละคนมีพื้นฐานร่วมกัน เช่น พื้นฐานอาชีพ ฯลฯ มีเป้าหมาย
และวัตถุประสงค์ในการดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สมาชิกพวกพ้อง ในงานเขียนเหล่านี้มักจะ
แยกความหมายกลุ่มผลักดัน (pressure groups) ออกจากกลุ่มผลประโยชน์โดยชี้ให้เห็นว่า กลุ่ม
ผลักดันมุ่งที่จะมีอิทธิพลเหนือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือรัฐบาลและมีอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐบาล (และกลุ่ม
ผลักดันหรือกลุ่มอิทธิพลนี้มิได้มีเป้าหมายเหมือนกันกับพรรคการเมืองที่ว่าพรรคการเมืองต้องการ
ชัยชนะเพื่อจัดตั้งรัฐบาลปกครองประเทศ)
กลุ่มผลักดันกับกลุ่มผลประโยชน์จึงเป็นเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ เราเรียกกลุ่มผลักดันเมื่อกลุ่ม
ผลประโยชน์มีกิจกรรมที่ดำเนินการสร้างอิทธิพลหรือเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐหรือระบบ
การเมืองส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของกลุ่ม การแบ่งออกเป็นกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่ม
ผลักดันก็เพื่อให้เห็นบทบาทของกลุ่มในสังคมการเมือง แต่อย่างไรก็ดี ในงานเขียนหลายชิ้นไม่ได้แยก
ออกเป็น 2 ประเภทดังกล่าว กล่าวคือ ได้ใช้คำเดียวเรียก เช่น งานของ Nownesเรื่องกลุ่มผลประโยชน์
ในการเมืองอเมริกัน (Nownes, 2013) ไม่ได้กล่าวถึงกลุ่มผลักดัน (pressure groups) เลย และยังได้
แยกระหว่างกลุ่มทั่วไปกับกลุ่มผลประโยชน์ว่า กลุ่มทั่วไปไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง
(Nownes, 2013: 5) ส่วนงานของ Wyn Grant เรื่อง “กลุ่มผลักดัน การเมือง และประชาธิปไตยใน
อังกฤษ” ก็ใช้คำ "กลุ่มผลักดัน" (pressure group)(Grant,1989) โดยไม่ได้กล่าวถึงหรือใช้คำว่า"กลุ่ม
ผลประโยชน์"เลย ผู้เขียนเห็นว่า อาจจะเป็นเพราะในการเมืองปัจจุบันคงเป็นไปได้ยากที่กลุ่มผล
ประโยชน์จะไม่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับระบบการเมืองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง จึงทำให้การแยกพิจารณา
กลุ่มทั้งสองประเภทจึงเป็นไปได้ยากและไม่สู้จะมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจการเมืองแบบกลุ่มมากนัก
ส่วนการพิจารณาความแตกต่างของกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มผลักดันกับขบวนการทางสังคม
นั้น มิติหนึ่งเสนอให้มองว่ากระทำการร่วมหมู่ทั้งสองแบบนี้มีความแตกต่างในด้านลักษณะหน้าตา