Page 27 -
P. 27

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   21



             ร่มโพธิ์ทอง  ซึ่งชุมชนร่มโพธิ์ทองนำหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนมาเป็นแนวคิดสำคัญในการบริหาร
             จัดการป่า โดยเปลี่ยนสภาพจากป่าเสื่อมโทรมในอดีตเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ในปัจจุบัน และกลายเป็นชุมชน
             ตัวอย่างด้านการจัดการป่า โดยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวประเภทกลุ่มองค์กรอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
             ในปี พ.ศ. 2548 (ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า-ประเทศไทย, ม.ป.ป.)
                      แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 และมาตรา 67 ได้รองรับ

             สิทธิของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่า  อย่างไรก็ดี  ในทางปฏิบัติมาตรการของ
             ชุมชนสามารถใช้บังคับได้เพียงคนในชุมชน ไม่อาจบังคับใช้กับบุคคลภายนอกได้ มาตรการทางกฎหมาย
             จึงมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อสร้าง

             ประโยชน์สุขต่อชุมชนและสังคมโดยรวม การออกมาตรการทางกฎหมายจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องศึกษา
             ความสอดคล้องของวิถีชุมชนกับมาตรการทางกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้
                      ทั้งนี้  การศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า  งานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาแยกสาขาวิชากัน
             ระหว่าง  มิติด้านชุมชนที่มุ่งศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่า  และมิติด้านกฎหมายที่มุ่ง
             ศึกษามาตรการทางกฎหมายเพื่อการจัดการป่า  ในการวิจัยครั้งนี้จึงให้ความสำคัญกับการบูรณาการ

             ระหว่างการศึกษาชุมชนและการศึกษาด้านกฎหมาย  เพื่อนำไปสู่การนำเสนอมาตรการทางกฎหมายในการ
             บริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความสอดคล้องกับวิถีของชุมชนต่อไป


                                          วัตถุประสงค์ของการวิจัย


                      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                      1.  เพื่อศึกษากระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ในเขตพื้นที่ป่าชุมชนร่ม
             โพธิ์ทอง ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      2. เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการจัดการป่า

                      3.  เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายในการบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ
             ชุมชนที่เหมาะสมในประเทศไทย


                                                 วิธีการวิจัย


                      การวิจัยครั้งนี้  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ซึ่งเน้นการวิเคราะห์กฎหมายร่วมกับข้อมูลจากภาค
             สนาม ทั้งนี้ การศึกษากฎหมายเปรียบเทียบใช้การวิจัยเอกสาร จากตำรา บทความวิชาการ และรายงาน
             วิจัย ส่วนการศึกษาภาคสนามใช้การวิจัยสนาม ในระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนกันยายน 2557 ณ
             พื้นที่ป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง  ตำบลคลองตะเกรา  อำเภอท่าตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  ประชากรของการ

             ศึกษา คือ ประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านร่มโพธิ์ทอง โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและกำหนดขนาด
             ตัวอย่างจากความเหมาะสมด้านระยะเวลาในการเก็บข้อมูลและความหลากหลายของประชากรในพื้นที่
             ดังนี้
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32