Page 29 -
P. 29

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   23



             ในอดีตแม้จะมีชาวบ้านเพียงไม่กี่ครัวเรือนที่ตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ป่า  แต่เมื่อมีการประกาศพื้นที่เป็นเขต
             รักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ชาวบ้านก็ต้องอพยพออกมาตั้งถิ่นฐานโดยรอบ อย่างไรก็ดี แม้พื้นที่บ้านร่มโพธิ์ทอง
             จะติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ  แต่บนภูเขากลับมีแต่หญ้าคา  เป็นเหตุให้หน่วยงานราชการ  และกลุ่ม
             อนุรักษ์ต่างๆ เข้ามาเพื่อหาหนทางฟื้นฟูและอนุรักษ์ ในระยะแรกของการประกาศพื้นที่เป็นเขตรักษาพันธุ์
             สัตว์ป่า ได้รับการต่อต้านจากชาวบ้าน เพราะป่าเป็นแหล่งปัจจัยสี่ของชาวบ้าน เมื่อมีการปิดป่าก็ทำให้ชาว

             บ้านส่วนใหญ่ทำใจไม่ได้  และต้องอาศัยการปรับตัวเป็นอย่างมาก  การรวมกลุ่มเป็นกลุ่มป่าชุมชนร่มโพธิ์
             ทองก็เป็นไปอย่างยากลำบาก  ต้องอาศัยการให้ข้อมูล  การสร้างความเข้าใจ  และการจูงใจจากผู้นำของ
             ชุมชน การเริ่มก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนนั้น นอกจากความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกแล้ว การริเริ่มกลุ่มยัง

             เกิดขึ้นจากการไปศึกษาดูงานจากพื้นที่อื่นด้วย  ทำให้ผู้นำในชุมชนมีแนวคิดในการสร้างพื้นที่ป่าในชุมชน
             เพื่อให้เป็น “มรดก” แก่ลูกหลาน จึงมีการขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ รวมทั้งมีการรวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อ
             ทำการฟื้นฟูสภาพป่าขึ้นมาโดยการรณรงค์ปลูกป่า รวมทั้งการบวชป่าเพื่อป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า โดย
             ระยะ 1-2 ปีแรกมีการดูแลป้องกันการเกิดไฟป่า พอช่วง 3-4 ปีต่อมามีการส่งเสริมการปลูกป่า และดูแล
             ควบคู่กันต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

                      กระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน
                      จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล  ผู้วิจัยสรุปกระบวนการจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ
             ชุมชนได้ 4 ขั้นตอน คือ

                      1) การมีส่วนร่วมในการเริ่มต้นกลุ่มป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
                      2) การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
                      3) การมีส่วนร่วมในการกำหนดและรักษากติกาป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
                      4) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนเกี่ยวกับป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
                      รายละเอียด ดังนี้

                      1) การเริ่มต้นกลุ่มโดยอาศัยการมีส่วนร่วม
                      การเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทองในระยะก่อตั้งเป็นไปแบบเครือข่าย โดย
             อาศัยแกนนำกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มเข้าไปพูดคุยกับสมาชิกและประชาสัมพันธ์ต่อไปยังชาวบ้านคนอื่นๆ เมื่อ

             ได้เครือข่ายพอสมควรจึงจัดประชุมทุกวันที่ 5 ของเดือน แต่ปัจจุบันวิธีการสื่อสารในชุมชนเปลี่ยนแปลง
             ตามความเหมาะสมเป็นการแจ้งข่าวสารโดยใช้เสียงตามสายเป็นหลัก
                      2) การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
                      ในการคัดเลือกคณะกรรมการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง  ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎระเบียบโดยตรงนั้น
             เกิดขึ้นจากการชักชวนสมาชิกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ติดกับป่าชุมชนมาร่วมกันเป็นคณะกรรมการ  คณะ

             กรรมการจึงทำหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี  ส่งผลให้กฎระเบียบของชุมชนเข้มแข็ง  ทั้งนี้
             โครงสร้างของคณะกรรมการมีลักษณะยืดหยุ่น  กล่าวคือ  คณะกรรมการประกอบด้วยแกนนำหลักๆ  5
             คน  ซึ่งมาจากการสรรหาโดยผู้ใหญ่บ้าน  และการแต่งตั้งสมาชิกอื่นๆ  มาร่วมกันดูแลจัดการป่าเพิ่มอีก

             ประมาณ 20 คน ที่ผ่านมาจะให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานคณะกรรมการมาโดยตลอด โดยคณะกรรมการมี
             วาระ 2 ปี
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34