Page 31 -
P. 31
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 25
สิ่งที่ทำให้สมาชิกในชุมชนปฏิบัติตามกฎระเบียบป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
สมาชิกในชุมชนร่มโพธิ์ทองละเมิดต่อกฎระเบียบของชุมชนน้อยมาก เมื่อเกิดการกระทำ
ละเมิดกฎระเบียบของชุมชนขึ้นมา สมาชิกที่เห็นการกระทำละเมิดจะใช้วิธีการตักเตือนด้วยการบอกกล่าว
ตัวต่อตัวเสียก่อน แต่หากไม่ได้ผลก็จะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการชุมชน โดยให้คณะ
กรรมการชุมชนเป็นผู้ตรวจสอบและตัดสินว่าจะทำเช่นไรกับผู้ที่ละเมิด โดยการตรวจสอบนี้จะเป็นการซัก
ถามอย่างละเอียด เพื่อให้ได้คำตอบว่าผู้ที่กระทำนั้นมีเจตนาอย่างไร หากการกระทำละเมิดเป็นเรื่องที่เกิด
จากเจตนาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของชุมชน ก็จะบอกกล่าวตักเตือนกัน และปล่อยตัวไป ซึ่งที่ผ่านมายัง
ไม่เคยเกิดกรณีการละเมิดกฎระเบียบของชุมชนที่ร้ายแรง ทุกกรณีสามารถแก้ปัญหากันได้ ทั้งนี้ ผู้ให้
ข้อมูลพิจารณาว่าสิ่งที่ทำให้สมาชิกในชุมชนเคารพต่อกฎของกลุ่มในการบริหารจัดการดูแลป่าชุมชน ก็คือ
ความเคารพและความเกรงใจซึ่งกันและกันของคนในชุมชน การตระหนักถึงความสำคัญของป่า การ
ถ่ายทอดปลูกฝัง และการให้ความสำคัญต่อกฎระเบียบและกติกาของชุมชน
4) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนเกี่ยวกับป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง
สมาชิกในชุมชนยังคงใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนนับแต่จากอดีตถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการเข้าไป
เก็บพืชผัก หาของป่า เพื่อการรับประทานในครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องที่คณะกรรมการชุมชนอนุญาตเพราะไม่
กระทบต่อการทำลายป่า เมื่อสมาชิกได้ใช้ประโยชน์ก็ให้ความสำคัญกับการช่วยกันดูแลป่าชุมชนด้วย การ
บริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากป่านี้อยู่ภายใต้ระเบียบของชุมชนเรื่อง “ห้ามใช้ไม้ ถ้าไม่ได้รับการ
อนุญาตจากคณะกรรมการป่าชุมชน” ซึ่งแม้คณะกรรมการป่าชุมชนจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ แต่การ
จัดการที่ผ่านมาจะเป็นลักษณะของการถ้อยทีถ้อยอาศัยกันมากกว่าการใช้อำนาจเด็ดขาดของคณะ
กรรมการ
ในปีหนึ่งๆ ในชุมชนร่มโพธิ์ทองจึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลอนุรักษ์ป่าชุมชนมากมาย
กิจกรรมป่าชุมชนหลัก คือ การทำบุญป่า และการปลูกป่าประจำปี ในวันที่ 29 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็น
วันก่อตั้งป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง (29 ธันวาคม พ.ศ. 2539) การปลูกป่าในวันสำคัญของชาติ และกิจกรรม
การทำแนวการป้องกันไฟป่า เป็นต้น กิจกรรมเกี่ยวกับป่าชุมชนที่จัดขึ้นในปัจจุบันยังคงได้รับความ
ร่วมมือจากสมาชิกเป็นอย่างดี ซึ่งกิจกรรมเกือบทั้งหมดจะริเริ่มจากเจ้าหน้าที่ อบต. ผู้ใหญ่บ้าน และคณะ
กรรมการป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายเป็นหลัก และการขอร่วมมือจาก
ทางโรงเรียนในชุมชนให้ครูและนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งนักเรียนจะช่วยประชาสัมพันธ์ต่อไปยังผู้
ปกครอง เมื่อสมาชิกได้รับทราบข่าวก็จะกระจายข่าวต่อยังเพื่อนบ้านและชักชวนกันไปร่วมกิจกรรม
อย่างไรก็ดี จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลทำให้ทราบว่าในอดีตคณะกรรมการและสมาชิกในชุมชนมีความ
ตื่นตัวเกี่ยวกับกิจกรรมป่าชุมชนมากกว่าในปัจจุบัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะป่าชุมชนร่มโพธิ์ทองในปัจจุบันมี
ความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น จนผู้ให้ข้อมูลเกือบทุกคนกล่าวว่ากิจกรรมปลูกป่านั้น “ปลูกกันทุกปีจนแทบ
ไม่มีที่ปลูกแล้ว” ซึ่งกิจกรรมปลูกป่าประจำปี ถูกดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่วันก่อตั้งป่าชุมชนร่ม
โพธิ์ทอง (29 ธันวาคม พ.ศ. 2539) จนกลายเป็นกิจกรรมสัญลักษณ์ในวันครบรอบการการก่อตั้งป่า
ชุมชน โดยมีหน่วยงานภายนอกให้การสนับสนุน เช่น การสนับสนุนกล้าไม้จากกรมป่าไม้ หรือ
งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลคลองตะเกรา เป็นต้น