Page 32 -
P. 32
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
26 วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
สรุปได้ว่า สมาชิกในชุมชนร่มโพธิ์ทองมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการป่า ใน 4 ขั้นตอน คือ การ
มีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง การมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการป่าชุมชนร่ม
โพธิ์ทอง การมีส่วนร่วมในการกำหนดและรักษากติกาป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง และการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ชุมชนเกี่ยวกับป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง การมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าว ส่งผลให้
สมาชิกในชุมชนรู้สึกมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ และทำให้สมาชิกยิ่งตระหนักถึงความสำคัญของป่า
ชุมชนที่เป็นแหล่งดำรงชีวิตประจำวันของเขาด้วย สิ่งเหล่านี้จึงเป็นการยึดโยงความรู้สึกรับผิดชอบต่อป่า
ชุมชนร่วมกันของสมาชิกในชุมนร่มโพธิ์ทอง นอกจากนี้ การมีมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติเป็น
ลายลักษณ์อักษรนั้นจะเป็นหลักประกันที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ป่าของชุมชนได้เป็นอย่างดี
2. มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการจัดการป่า
ในส่วนนี้เป็นการวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยในการจัดการป่า แบ่งการนำ
เสนอออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 บทบัญญัติกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่า และส่วน
ที่ 2 การบังคับใช้กฎหมาย เพื่อสะท้อนความสอดคล้องกันระหว่างกฎหมายและหลักการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการบริหารจัดการป่า ดังนี้
ส่วนที่ 1 บทบัญญัติกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่า
บทบัญญัติกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการป่า ได้แก่ รัฐธรรมนูญและพระราช
บัญญติที่เกี่ยวข้อง แนวความคิดในการบริหารจัดการป่าโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนถูกรับรองไว้ใน
1
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน
คือ สิทธิชุมชนและการปกครองส่วนท้องถิ่น
สิทธิชุมชน ปรากฏอยู่ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน
มาตรา 66 และมาตรา 67 ซึ่งรัฐธรรมนูญได้วางหลักรับรองสิทธิของชุมชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
จัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรวมทั้งความหลากหลาย
ทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน แนวคิดสิทธิชุมชนเป็นผลมาจากการตอบโต้การจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติแบบรัฐนิยมที่มุ่งตอบสนองความต้องการหรือผลประโยชน์ของภาครัฐและภาคธุรกิจ
เป็นหลัก แต่ละเลยมองข้ามความต้องการหรือผลประโยชน์ของชุมชน กระแสสิทธิชุมชนจึงเป็นการ
ตอบโต้เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชนมีอำนาจในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น (สมชาย ปรีชาศิลปกุล,
2549: 204-205) ซึ่งสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญ
พุทธศักราช 2540 เป็นครั้งแรก
การปกครองส่วนท้องถิ่น ปรากฏอยู่ในหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 290 ซึ่ง
รัฐธรรมนูญได้วางหลักรับรองอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเข้ามามีส่วนร่วมในการ
1 บทความนี้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาเป็นกรอบของการศึกษา อย่างไรก็ดี ในช่วงของการตี
พิมพ์บทความนั้นอยู่ระหว่างการใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งไม่ปรากฎสิทธิ
ชุมชนและการปกครองส่วนท้องถิ่น