Page 45 -
P. 45

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   39



             เกิดขึ้น รวมถึงนิเวศวิทยาเชิงลึก (Deep Ecology) ซึ่งริเริ่มโดย อาร์น แนส (Arne Naess) ทั้งนี้เพื่อ
             กระตุ้นเตือนจิตวิญญาณของมนุษย์ให้มีความรู้สึกมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของสสาร  มองให้เป็นเชิง
             ระบบ สามารถเชื่อมโยงระหว่างกาย จิต และจิตวิญญาณ แนวคิดนี้จะเป็นตัวเร่งอันทรงพลังที่จะผลักดัน
             ให้เกิดการยอมรับแนวคิดแบบองค์รวมในทุกๆ  ด้านของชีวิต  เครือข่ายความสัมพันธ์ในชุมชนนิเวศที่ส่ง
             ผลกระทบต่อทุกฝ่าย  สิ่งที่เกิดขึ้นกับสายพันธุ์หนึ่งจะสั่นสะเทือนข่ายใยแห่งชีวิตทั้งหมด  และจะส่งผล

             กระทบกับทุกๆ สิ่ง
                         ในทางพระพุทธศาสนา ประจักษ์พยานหลักฐานเชิงเอกสาร ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่าวิถีชีวิต
             ของพระพุทธเจ้านั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับป่าไม้  ธรรมชาติตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์  ไม่ว่าการประสูติ

             ตรัสรู้  ปฐมเทศนา  การปฏิบัติธรรมและการปรินิพพาน  ล้วนเกี่ยวข้องกับป่าทั้งสิ้น  นอกจากนี้จาก
             หลักฐานทางคัมภีร์พระพุทธศาสนาทั้งพระวินัยและพระสูตรหรือหลักธรรม  ได้กล่าวถึงเรื่องการตระหนัก
             ถึงความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมและการดำรงอยู่ของมนุษย์อยู่เนืองๆ เช่น ธรรมชาติโดยทั่วไปก็ตกอยู่ใน
             หลักธรรมนิยาม ที่แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งมีชีวิต หมายถึง มนุษย์และสัตว์ และสิ่งที่
             ไม่มีชีวิต ได้แก่ ต้นไม้ พืช พระองค์เพียงทรงชี้ให้เห็นว่าธรรมชาตินั้น มนุษย์ควรจะทำตัวอย่างไร ควรจะ

             อยู่ร่วมกันกับธรรมชาตินั้นอย่างไร  ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของธรรมชาติชนิดกายภาพนั้นก็เดินเข้าสู่หลัก
             ไตรลักษณ์  ดังนั้น  สถานะของมนุษย์จึงไม่ได้แยกเป็นอิสระต่างหากจากระบบอื่นๆ  ตั้งแต่สถานะของ
             มนุษย์ในระบบที่ใหญ่ที่สุด คือ จักรวาล และในสถานะของมนุษย์ที่เป็นกัลยาณมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงมี

             แง่คิดที่สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่อย่างสัมพันธ์กัน  ไม่มีสิ่งใดเป็นอิสระแล้วดำรงอยู่ได้  หรือใคร  สิ่งใด
             มีอำนาจเหนืออีกคนหนึ่งหรือสิ่งหนึ่ง  แนวคิดว่าด้วยการดำรงอยู่อย่างองค์รวมนี้  สามารถพิจารณา
             เทียบเคียงกับหลักปฏิจจสมุปบาทในพระพุทธศาสนา  ที่เชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่สำคัญทั้งชีวิตมนุษย์และ
             สิ่งแวดล้อม  เนื่องจากเป็นหลักที่ยืนยันว่าสรรพสิ่งล้วนอาศัยซึ่งกันและกัน  ไม่มีสิ่งใดอยู่ได้อย่างเอกเทศ
             เป็นอิสระ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวว่า ท่าทีของพระพุทธศาสนาดังกล่าวเป็นการสะท้อน

             ถึง “ความกตัญญู” ความรู้สึกเห็นคุณของกันและกัน และกล่าวถึงพื้นฐานของจิตใจที่มีเมตตาต่อพืชและ
             สัตว์  และเป็นการมองแบบความเป็นเพื่อนร่วมโลกเดียวกัน  เป็นญาติมิตรกัน  โดยมองว่าทั้งมนุษย์และ
             สรรพสิ่งล้วนตกอยู่ในกฎอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง เมื่อเป็นเพื่อนร่วมโลกกันแล้วก็ไม่ควรเบียดเบียนกัน ควร

             รู้สึกถึงการเป็นเพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์กันดีกว่าคิดจะเบียดเบียนรังแกกันและกัน  (พระพรหมคุณาภรณ์
             (ป.อ.ปยุตฺโต), 2554: 24-25)
                      นอกจากนี้  ในพระวินัยมีข้อบัญญัติที่ส่งเสริมคุ้มครองทรัพยากรอย่างครอบคลุม  อาทิ
             คุ้มครองทรัพยากรสัตว์  พืช  เช่น  ทรงสอนเรื่องการเว้นจากการฆ่าสัตว์  การไม่เบียดเบียนพืช  พระวินัย
             บัญญัติที่คุ้มครองทรัพยากรป่าไม้ ต้นไม้ ทรงบัญญัติไม่ให้พระภิกษุตัดต้นไม้เพื่อสร้างที่อยู่อาศัย (วิ.มหา.

                            4
                                                                                              5
             (ไทย)  2/354/348)   แต่ให้รู้จักใช้ประโยชน์จากป่า  ไม่ใช่ฉวยประโยชน์จากป่า  (วิ.ม.  (ไทย)  5/11/15)
             พระวินัยบัญญัติที่คุ้มครองทรัพยากรดิน  ทรงห้ามภิกษุ  ขุดคุ้ยหรือโกยดิน  เป็นต้น  พระวินัยบัญญัติที่


             4   หมายถึง พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่มที่ 2 ข้อที่ 354 หน้าที่ 348
             5   หมายถึง พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่มที่ 5 ข้อที่ 11 หน้าที่ 15
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50