Page 49 -
P. 49
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 41 ฉบับที่ 2 43
ความคิดในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยสิ่งสำคัญคือการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก เมื่อชาว
บ้านท้องอิ่มก็สามารถมีกำลังในการดำเนินแก้ไขปัญหาอื่นๆ ตามมา
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาในชุมชน เช่น ปัญหายาเสพติด ที่ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่ไม่ค่อยให้
ความสนใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และกระแสทุนนิยมที่ไหลบ่าเข้ามาในหมู่บ้านทำให้การอนุรักษ์
ยากยิ่งขึ้น (ชุมชนบ้านท่าพรุ-อ่าวท่าเลน ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภทชุมชน ประจำปี 2546)
กรณีศึกษาที่ 6 บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) (SCG) จัดเป็นองค์กรด้านเอกชนที่มี
ธรรมาภิบาลในการบริหารธุรกิจและใส่ใจสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันบริษัทฯ มีอายุครบ 100 ปี ต่อมาได้ขยาย
กิจการจากการผลิตปูนเป็นผลิตกระดาษ ผลิตภัณฑ์เซรามิคและการก่อสร้าง และผลิตภัณฑ์เคมี เอสซีจี
ได้มุ่งมั่นสู่การเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมหรือ Green Business ทั้งด้านกระบวนการผลิตที่เป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Process) และการพัฒนาสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green
Products) มีสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองฉลาก "SCG eco value" ทั้งสิ้น 270 รายการ นอกจากนี้ ยัง
แสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ๆ อาทิ พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนอาคารประหยัดพลังงาน และเป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม เอสซีจีได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ กว่า 1,000 โครงการ มีพนักงานเข้า
ร่วมกว่า 16,000 คน ด้วยงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท โครงการต่างๆ เช่น การสร้างฝายชะลอน้ำ เอส
ซีจีได้สร้างฝายชะลอน้ำ กว่า 54,237 ฝาย ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ แพร่ น่าน ขอนแก่น ระยอง
นครศรีธรรมราช กาญจนบุรี ราชบุรี สระบุรี เป็นต้น (รางวัลที่ได้รับ เช่น รางวัลพระราชทานสมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี Thailand Corporate Excellence Awards 2011 จากสมาคม
การจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย)
3. รูปแบบนิเวศวิทยาเชิงพุทธในการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมไทยตาม
แนวพุทธศาสนา
การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมบูรณาการกับนิเวศวิทยาเพื่อการพัฒนาจิตและสังคมอย่างยั่งยืน
7
ซึ่งคณะวิจัยได้วิเคราะห์จากตัวอย่างกรณีศึกษาทั้ง 6 กรณี พบว่า หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
เป็นหลักธรรมที่ทุกหน่วยงานได้ปฏิบัติโดยอาจจะไม่ได้ใช้ภาษาธรรมดังที่เข้าใจทั่วไป
สำหรับกระบวนการทำงานเพื่อให้ระบบนิเวศมีการพัฒนาทั้งด้านจิตใจและสังคมเป็นไปอย่าง
ยั่งยืนนั้น ต้องดำเนินไปด้วยกัน ทั้งศีล สมาธิ และปัญญา ไม่สามารถแยกอย่างใดอย่างหนึ่งได้ และต้อง
เกิดไปพร้อมๆ กันหรือทำด้วยกันจึงจะได้ผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ที่เรียกว่า “บูรณาการ” แนวความคิดที่ว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างถูกประกอบเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงกันตามทฤษฎีบูรณาการของเคน วิลเบอร์ (Ken Wilber,
2000: 44-45) ศีล สมาธิ และปัญญาจึงเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน เพื่อจุดมุ่งหมายคือความสำเร็จที่ยั่งยืน
เหตุปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้เกิดการหมุนเดินไปพร้อมกัน มีความเกี่ยวเนื่องกัน สอดคล้อง
7 ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา เป็นหลักสำหรับศึกษา ฝึดหัดอบรมทางกาย วาจา จิตใจ และปัญญา มี ๓ อย่าง
เรียกสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา. ซึ่งในงานวิจัยนี้หมายถึงผลในเชิงปฏิบัติจากกรณีศึกษาที่ได้ประยุกต์หลักทั้งสามมาดำเนิน
งาน ดู ดูนิยามจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2550), พจนานุกรมฉบับพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้ง
ที่ 15, (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ), หน้า 107.