Page 44 -
P. 44

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           38     วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



           เวลาใดๆ  ในประวัติศาสตร์  ความสูญเสียด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ  ได้รับการศึกษาและพิจารณา
           อย่างจริงจังเมื่อสมาคมนิเวศวิทยาแห่งสหราชอาณาจักร  และสมาคมนิเวศวิทยาของสหรัฐอเมริกา  ได้
           ทำการสำรวจ  ศึกษาเรียงลำดับความสำคัญของแนวคิดทางนิเวศวิทยาทั้งในรูปของทฤษฎี  การวิจัย  โดย
           เฉพาะสมาคมนิเวศวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาวิเคราะห์วิจัยทางนิเวศวิทยาเพื่อสร้างความเข้าใจ
           พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  และมีศักยภาพที่จะเป็นกุญแจสำคัญต่อความยั่งยืน

           ของสังคมมนุษย์  โดยเรียกว่า  ความริเริ่มชีวาลัยที่ยั่งยืน  (The  Sustainable  Biosphere  Initiative)
           จนกระทั่งได้ข้อเสนอแนะไว้ใน ค.ศ. 1991 (Ecological Society of America) และได้สะท้อนถึงความ
           จำเป็นเร่งด่วนที่ควรตระหนัก  3  ประการได้แก่  1)  ด้านการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก  2)  ด้านความ

           หลากหลายทางชีวภาพ 3) ด้านระบบนิเวศที่ยั่งยืน
                       นอกจากนี้  จากการสำรวจล่าสุดขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ
           (Food and Agriculture Organization, FAO) ด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับป่าไม้ที่เรียกว่า การประเมิน
           แหล่งป่าไม้ของโลก (The Global Forest Resources Assessment) สำหรับปี 2010 ที่เรียกว่า FRA
           2010 ซึ่งเก็บข้อมูลจาก 233 ประเทศทั่วโลก พบว่า ป่าไม้ทั่วโลกปัจจุบันมีเพียง 31% มี 10 ประเทศใน

           โลกที่ไม่มีป่าไม้เลย และมีอีก 54 ประเทศในโลกมีป่าเหลือเพียง 10% เท่านั้น ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกบุกรุก
           เพื่อการเกษตรกรรม  และจากการสำรวจพบว่าระหว่างปี  1960  ถึง  1980  ป่าไม้ในทวีปเอเชียถูกทำลาย
           เป็นปริมาณถึง  1  ใน  3  และเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก  และเมื่อเทียบระหว่างประเทศในเอเชียด้วยกัน

           พบว่า  ประเทศไทยมีการสูญเสียป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ  3  ในเอเชีย  (4%)  รองจากบังคลาเทศและ
           ปากีสถาน อย่างไรก็ตาม นับว่าประเทศไทยยังมีการพัฒนาไปในทางที่ดี นั่นคือ ประเทศไทยเป็นประเทศ
           ที่มีการปกป้องป่า (Protected Area, PA) เช่น นโยบายปิดป่า การกำหนดให้มีอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น
           และมี PA มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งในประเทศในเอเชีย (13.8%)
                       สำหรับมิติทางปรัชญาแนวคิดที่ทำให้ระบบนิเวศวิทยาเกือบล่มสลายไปนั้นเป็นเพราะ

           อิทธิพลแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์แบบลดทอน (reductionism) ที่ทำให้มนุษย์เข้าใจผิดว่ามนุษย์เป็นสิ่งมี
           ชีวิตที่ประเสริฐ  มนุษย์เท่านั้นมีคุณค่าทางจริยธรรมตามทฤษฎีที่ยึดมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง
           (anthropocentrism)  สิ่งแวดล้อมไม่มีคุณค่าในตัวเอง  มนุษย์จึงไม่มีท่าทีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่าง

           จากพระพุทธศาสนาที่ส่งเสริมสนับสนุนให้มนุษย์เป็นมิตรกับธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อม  และการที่มนุษย์
           อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็เพื่อประโยชน์แก่มนุษย์เองหาใช่ประโยชน์แก่สิ่งแวดล้อมไม่ (เจริญ ชัยแก้ว, 2541:
           บทคัดย่อ; เพ็ญพิศ คชสิทธิไพศาล, 2554: 190) แนวคิดแบบลดทอนนี้เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ศตวรรษ
           ที่  17  โดยนักปรัชญาฝรั่งเศสชื่อเรอเน  เดการ์ต  ที่ถือเหตุผลนิยมเป็นแกนหลัก  เมื่อแนวคิดดังกล่าวมา
           ประสานกับนักวิทยาศาสตร์อังกฤษชื่อนิวตัน  กลับยิ่งทำให้แนวคิดดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการพัฒนา

           สังคมตะวันตก และเกิดความก้าวหน้าทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แม้ว่าจะมีผลดีและเป็น
           ประโยชน์ในแวดวงวิทยาศาสตร์แต่แนวคิดดังกล่าวก็สามารถครอบงำ และทำให้โลกรับความคิดแบบแยก
           ส่วน  มองโลกแบบกลไก  ส่งผลเสียหายอย่างมากต่อชีวิตและสิ่งล้อม  เพราะได้ลดทอนคุณค่าชีวิตอื่นๆ

           ที่มีความซับซ้อนมากกว่าที่จะมองโลกแบบแยกส่วนโดยอ้างคุณค่าจาก "เหตุผล” เท่านั้น (เสรี พงศ์พิศ,
           2555)  เมื่อเกิดการแยกความคิดเชิงระบบออก  ยิ่งซ้ำเติมปัญหายิ่งขึ้น  ปรัชญาแนวคิดเรื่ององค์รวมจึง
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49