Page 57 -
P. 57

โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                         วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์   ปีที่ 41 ฉบับที่ 2   51



             ก/ป72518/9)  ดังนั้น  “ถังแดง”  จึงได้ถูกใช้เรียกเหตุการณ์การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ด้วย
             การเผาลงถังน้ำมันที่เกิดขึ้นในพัทลุงช่วง พ.ศ. 2514-2516 ตั้งแต่นั้นมา
                      ครั้นเมื่อเหตุการณ์ความไม่สงบเนื่องจากภัยคอมมิวนิสต์ยุติลง ได้มีงานศึกษาเกี่ยวกับกรณีถัง
             แดงและสรุปเกี่ยวกับความหมายของคำว่า  “ถังแดง”  ใหม่  จากมุมมองชาวบ้านในพัทลุงที่ผ่านเหตุการณ์
             นั้น  ถังแดงไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง  พ.ศ.  2514-2516  ตามที่มีการกล่าวถึงใน

             หนังสือพิมพ์และกลุ่มนักศึกษาใน  พ.ศ.  2518  เท่านั้น  คำว่า  “ถังแดง”  ยังมีขอบเขตที่กว้างขวาง
             ครอบคลุมถึงกระบวนการที่รัฐใช้วิธีการต่างๆ ในการยับยั้งการต่อต้านการต่อสู้ของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้าน
             จำนวนมากเสียชีวิตลงโดยมิได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม  (สมยศ  เพชราและคณะ,  2549,  115)

             รวมถึงกรณีอื่นๆ  ตั้งแต่การยิงทิ้ง  การถีบลงจากที่สูง  รวมทั้งการจับกุมและการทรมานผู้ต้องหาด้วย
             (เพิ่งอ้าง, 114-115) คำว่า “ถังแดง” ในบทความนี้จะใช้อธิบายความหมายอย่างกว้างนี้
                      กรณีถังแดงที่เกิดขึ้นในจังหวัดพัทลุงภายใต้บริบทสงครามเย็นเนื่องจากประเทศไทยสนับสนุน
             สหรัฐอเมริกาในการต่อต้านคอมมิวนิสต์มาตลอดช่วงสงครามเย็นตั้งแต่การเข้าร่วมสงครามเกาหลี
             ระหว่าง พ.ศ. 2493 - 2496 จนถึงสงครามเวียดนามซึ่งรัฐบาลไทยอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาใช้ฐานทัพใน

             ประเทศทำสงครามในเวียดนามตั้งแต่  พ.ศ.  2507  ส่งผลให้ประเทศจีนและเวียดนามเหนือไม่พอใจและ
             ทำการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ไทยเพื่อเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลไทย (เดวิด เค วัยอาจ, 2556: 398)
             โดยประเทศจีนและเวียดนามให้การสนับสนุนทั้งอาวุธและการฝึกแก่พรรคคอมมิวนิสต์ไทย  (เพื่ออ้าง:

             401) และตั้งแต่ พ.ศ. 2507 ช่องว่างระหว่างความเป็นอยู่ระหว่างเมืองกับชนบททำให้พรรคคอมมิวนิสต์
             สามารถเข้าแทรกซึมและปฏิบัติการด้วยอาวุธในพื้นที่ชนบทในภาคเหนือ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ
             ภาคใต้ตอนล่างได้ (เพิ่งอ้าง: 400-401) ต่อมาจังหวัดพัทลุงจึงเป็น 1 ใน 16 จังหวัดที่มีพรรคคอมมิวนิสต์
             เข้ามาปฏิบัติการมากที่สุดของประเทศ (พลเอกสายหยุด เกิดผล: 2537, 8) ส่งผลให้รัฐบาลส่งทหารเข้ามา
             เพื่อช่วยปราบปรามกลุ่มคอมมิวนิสต์และพยายามจัดการกับกองกำลังคอมมิวนิสต์ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

             เพราะฝ่ายทหารเห็นว่าคอมมิวนิสต์เป็นศัตรูที่ต้องปราบให้หมดสิ้นไปผ่านการปลูกฝังความคิดจากรัฐบาล
             ที่มีต่อคอมมิวนิสต์ว่าเป็นผู้ก่อการร้ายและภัยร้ายของชาติ (สมยศ เพชรา และคณะ, อ้างแล้ว:124 - 126)
                      การปราบปรามด้วยการสังหารผู้ต้องสงสัยทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตมากขึ้นเรื่อยๆ  อีกทั้งพรรค

             คอมมิวนิสต์ได้พยายามวางตัวเป็นมิตรกับชาวบ้านในเขตปฏิบัติการ  ทำให้การโฆษณาชวนเชื่อของรัฐที่
             กล่าวถึงคอมมิวนิสต์ว่าเป็นบุคคลอันตรายต่อชาวบ้านเริ่มไม่ได้รับความเชื่อถือ ใน พ.ศ. 2513 รัฐบาลจึง
             ประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดพัทลุงและเจ้าหน้าที่รัฐได้เพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามตาม
             แนวเทือกเขาบรรทัดในจังหวัดพัทลุงซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ถังแดงในที่สุด  งานวิจัยเกี่ยวกับกรณีถังแดง
             (เพิ่งอ้าง:  126-129)  ได้มีการศึกษาพบว่ามีการปราบปรามอย่างรุนแรงโดยการใส่ร้ายป้ายสีและเหวี่ยงแห

             ทำให้มีผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเสียชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง พ.ศ. 2514-2516 ชาวบ้านจึงหวาดกลัวเจ้าหน้าที่
             ของรัฐและร่วมมือกับคอมมิวนิสต์มากขึ้น  ฝ่ายพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีนโยบายผูกมิตรกับชาวบ้านจึง
             สามารถเข้าถึงชาวบ้านได้  ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้สูญเสียการสนับสนุนจากชาวบ้านในท้องถิ่น  ดังนั้นวิธีการ

             ปราบปรามนี้จึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาคอมมิวนิสต์แต่กลับทำให้พรรคคอมมิวนิสต์ในพัทลุงเข้มแข็งมากขึ้น
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62