Page 58 -
P. 58

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   39


                        Boyer, Hallowell and Roth (2001) กล่าวว่า ลักษณะของบริการอิเล็กทรอนิกส์
                 เป็นการสร้างโอกาสให้แก่องค์กรธุรกิจที่จะน าเสนอรูปแบบการบริการและพัฒนา
                 บริการใหม่ๆ ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการมีการเตรียมบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
                 มีทางเลือกของช่องทางการจัดส่งสินค้าและบริการเพื่อสร้างการแข่งขันทางธุรกิจและ

                 2) บริการใหม่ๆ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในด้านการเข้าถึง ด้านความแตกต่าง
                 ทางภูมิศาสตร์และการมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

                        กล่าวโดยสรุป ลักษณะของบริการอิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางส าคัญในการ
                 สื่อสารระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว นอกจากช่องทางนี้จะ
                 เป็นสถานที่เสมือนในการซื้อขายและให้บริการแล้ว ยังเป็นช่องทางในการถ่ายทอด
                 ความรู้สึกที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขององค์กรได้ โดยผู้ให้บริการสามารถน าข้อมูลด้านที่ดี
                 และด้านที่ไม่ดีมาใช้ในการวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการต่อไป



                 5.  คุณภาพบริการของห้องสมุด


                        Einasto (2014) กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพบริการของห้องสมุดว่ามี
                 พื้นฐานจากการวิจัยทางการตลาดซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ส าหรับคุณภาพการ
                 บริการของห้องสมุดแบ่งออกเป็น 1) คุณภาพด้านระบบ (functional quality) และ 2)
                 คุณภาพด้านเทคนิค (technical quality) ด้านคุณภาพทางเทคนิค หมายถึง การที่

                 ลูกค้าได้รับผลลัพธ์ (outcome) ของการใช้บริการ แต่หากมองถึงมุมมองในบริบทของ
                 ห้องสมุดนั้นคุณภาพด้านเทคนิคจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นรูปธรรม เช่น เรื่อง
                 ตัวอาคาร เรื่องการตกแต่ง เรื่องทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในห้องสมุด เป็นต้น
                 ส่วนคุณภาพด้านระบบ หมายถึง การที่ผู้ใช้บริการมีทัศนคติและความพึงพอใจที่มี
                 ต่อการบริการ ซึ่งปัจจัยทั่วๆ ไปที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพด้านระบบของห้องสมุด ก็คือ

                 สมรรถนะของบรรณารักษ์ ความรวดเร็วในการให้บริการ รวมถึงความสะดวกในการ
                 เข้าถึงทรัพยากร นอกจากนี้ Zeithaml, Parasuraman and Berry (1990) ยังกล่าวถึง
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63