Page 63 -
P. 63

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           44        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          7.  แนวทางบริการอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา


                 นอกจากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาจะประเมินคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์
          แล้ว ยังต้องค านึงถึงเรื่องของนโยบายที่ชัดเจนทั้งในด้านโครงสร้างการบริหารงาน
          งบประมาณ แนวทางการบริการ และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้
          ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรณารักษ์ต้องมีสมรรถนะด้านทักษะ

          การใช้คอมพิวเตอร์และทักษะในการสื่อสาร ดังนั้นห้องสมุดควรสนับสนุนให้มีการ
          ฝึกอบรมบุคลากร IFLA (2006) ได้ระบุเกี่ยวกับสมรรถนะของบรรณารักษ์ผู้ให้บริการ
          อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย ความสามารถในการท างานได้หลากหลาย (multi-tasking)
          ทักษะการสื่อสารโดยเฉพาะการเขียน ทักษะด้านการสืบค้นฐานข้อมูล ทักษะด้านการ
          วิจัย ทักษะด้านเทคโนโลยีและความรู้ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ในส่วนของการวางแผน
          การพัฒนาและปรับปรุงด้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งส าคัญอีกประการหนึ่งที่ห้องสมุดควรให้

          ความสนใจ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งส่งผลต่อ
          งบประมาณที่มีจ ากัด การออกแบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ควรส่งเสริมการเข้าถึง
          ทรัพยากรที่ประเภทของห้องสมุดสามารถรองรับผู้ใช้ทุกระดับ ปราศจากอุปสรรค
          ด้านภาษา มีเครื่องมือฮาร์ตแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบอินเทอร์เน็ตที่ทันสมัย ประเด็น
          ส าคัญอีกประการก็คือ ห้องสมุดจะต้องให้ความส าคัญแก่ประเด็นด้านกฎหมาย เช่น

          นโยบายสารสนเทศระดับชาติ ด้านลิขสิทธิ์ และข้อตกลงการให้อนุญาต (licensing)
          นอกจากนี้การจัดบริการอิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้อง
          ท าการประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องเริ่มจากการก าหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีการสร้าง
          เอกลักษณ์ (identity) ด้านบริการ มีการเชื่อมโยงไปยังห้องสมุดหรือสถาบันอุดมศึกษา
          อื่นๆ รวมถึงการติดต่อกับสื่อมวลชนท้องถิ่นเพื่อประชาสัมพันธ์ และท้ายที่สุดของ
          การจัดบริการห้องสมุดควรประเมินคุณภาพการบริการจากผู้ใช้และศึกษาสถิติการใช้

          บริการ (IFLA, 2006) เพื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางการแก้ไข ทั้งนี้เพื่อน าไปสู่
          บริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68