Page 67 -
P. 67
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
56 วารสารมนุษยศาสตร์
วรรณศิลป์แห่งกำรเฉลิมพระเกียรติ
ในลิลิตกระบวนพยุหยำตรำสถลมำรคและชลมำรค
การน าคติเรื่องธรรมราชา คติเรื่องพญาจักรพรรดิราช และคติเรื่องพระ
โพธิสัตว์มาใช้ในการพรรณนาเนื้อหาเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัวในลิลิตเรื่องนี้ท าได้อย่างมีวรรณศิลป์หรือมีศิลปะอย่างยิ่ง ดังจะ
อธิบายต่อไปนี้
1) การผสานคติเรื่องธรรมราชา คติเรื่องพญาจักรพรรดิราช และคติเรื่อง
พระโพธิสัตว์ ในลิลิตเรื่องนี้มีความกลมกลืนงดงามและล าดับความได้อย่าง
สอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละช่วง ดังนี้
เนื้อหาช่วงที่เป็นบทประณามพจน์เน้นพรรณนามิติความเป็นธรรมราชา
ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน โดยพรรณนาให้เห็นความ
เป็นกษัตริย์ผู้ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมของพระราชา ตลอดจนแจกแจงพระราชจริยวัตร
และการบ าเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ ในทางพุทธศาสนาของพระองค์ การเน้น
ภาพความเป็นธรรมราชาในเนื้อหาตอนเปิดเรื่องนี้นับว่ามีความเหมาะสม
เนื่องจากเป็นการน าเสนอภาพกว้างหรือภาพโดยรวมให้ประจักษ์ก่อนว่า
พระมหากษัตริย์พระองค์นี้ทรงปฏิบัติและตั้งอยู่ในธรรมเป็นเนืองนิตย์มาช้านาน
แล้ว ก่อนที่จะเจาะเข้าสู่เนื้อหาหลักที่จะกล่าวเฉพาะการถวายผ้าพระกฐินซึ่งเป็น
หนึ่งในการบ าเพ็ญพระราชกุศลที่ส าคัญและยิ่งใหญ่
เนื้อหาช่วงที่เป็นการพรรณนาภาพกระบวนพยุหยาตราทั้งสถลมารคและ
ชลมารคเน้นย้ ามิติความยิ่งใหญ่ดุจพญาจักรพรรดิราชของพระบาทสมเด็จพระนั่ง
เกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น ใช้ค าเรียกที่หมายถึงพญาจักรพรรดิราชหลายครั้ง เปรียบช้าง
ต้นเป็นช้างแก้ว และพรรณนาแสนยานุภาพอันยิ่งใหญ่และครึกครื้นของกระบวน
พลท านองเดียวกับกระบวนแห่ของพญาจักรพรรดิราช การเน้นคติเรื่องพญา
จักรพรรดิราชในเนื้อหาส่วนนี้นับว่าเหมาะสม เนื่องจากองค์ประกอบต่างๆ ของ
กระบวนพยุหยาตราสอดคล้องและเอื้อแก่การเชื่อมโยงกับคุณสมบัติและลักษณะ
ของพญาจักรพรรดิราช เช่น ช้าง ม้า รี้พลต่างๆ ในกระบวนพยุหยาตราสอดคล้อง