Page 72 -
P. 72
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 61
ยิ่งใหญ่ดุจ “พญาจักรพรรดิราช” อันประจักษ์ได้ชัดจากกระบวนพยุหยาตรา และ
เป็น “พระโพธิสัตว์” ผู้ก าลังสั่งสมและบ าเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่เพื่อการบรรลุพระ
โพธิญาณและน าพาสรรพสัตว์ข้ามพ้นสังสารวัฏในภายภาคหน้า
อาจกล่าวได้ว่า ความเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติของลิลิตเรื่องนี้
ประกอบสร้างขึ้นจากเนื้อหาทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องการพระราชพิธี ผสานเข้า
กับคติแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับกษัตริย์ในอุดมคติ และน าเสนอได้อย่างงดงามมี
วรรณศิลป์ ท าให้ลิลิตเรื่องนี้เป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติที่มีลักษณะโดดเด่นต่าง
ไปจากวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติทั่วไป คือ มิได้เฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์
โดยตรงหรือผ่านการเล่าวีรกรรมด้านการสงคราม แต่กลับสรรเสริญพระเกียรติ
พระมหากษัตริย์ผ่านการบันทึกภาพพระราชพิธีอย่างแยบยล น่าสังเกตว่าบทพระ
นิพนธ์เรื่องอื่นๆ บางเรื่องในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็
มีลักษณะหรือการประกอบสร้างคล้ายลิลิตเรื่องนี้ด้วย เช่น เรื่องโคลงดั้นปฏิสังขรณ์
วัดพระเชตุพน ก็น าเรื่องทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการ “ปฏิสังขรณ์วัด” ตามพระราช
ด าริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมาพรรณนาอย่างละเอียดและมีนัยใน
การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน นับเป็นการสร้าง
มิติใหม่ให้แก่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติของไทยอีกเรื่องหนึ่ง
การศึกษาความเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติของลิลิตเรื่องนี้จึงสะท้อน
ให้เห็นพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทั้ง
ในฐานะปราชญ์และในฐานะกวีอย่างแท้จริง
เอกสำรอ้ำงอิง
ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์, รวบรวมและเรียบเรียง. 2531.
กระบวนพยุหยำตรำ: ประวัติและพระรำชพิธี. กรุงเทพฯ: หอสมุด
แห่งชาติ กรมศิลปากร.