Page 71 -
P. 71
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
60 วารสารมนุษยศาสตร์
“วาย” หรือค าว่า “น้าว หน่วง น้อม” นอกจากเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะไพเราะแล้ว
ยังสื่อถึงพระราชปณิธานของพระองค์อย่างชัดเจนว่าทรงมุ่งมั่นปรารถนา “น้าว”
“หน่วง” และ “น้อม” ถึงพระโพธิญาณอย่างแท้จริง
บทสรุป
การเสด็จพระราชด าเนินโดยกระบวนพยุหยาตราถือเป็นราชประเพณี
ส าคัญที่สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองและแสนยานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ซึ่งเป็นการหลอม
รวมความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ทั้ง “ทางโลก” และ “ทางธรรม” ไว้ด้วยกัน
คือแสดงให้เห็นทั้งพระเดชานุภาพทางการทหารและพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่มี
ต่อพุทธศาสนา น่าสังเกตว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการ
บันทึกการเสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราไว้
หลายแห่ง ทั้งในจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามและในลิลิตกระบวนพยุหยาตรา
สถลมารคและชลมารค ซึ่งเป็นการเสด็จพระราชด าเนินต่างคราวกันด้วย สะท้อน
ให้เห็นว่าพระราชพิธีนี้มีความส าคัญอย่างยิ่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ 3
ผลการศึกษาลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารคพระนิพนธ์
ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระ
เกียรติ ท าให้ประจักษ์ว่า ลิลิตเรื่องนี้ไม่เพียงเป็นวรรณคดีเอกที่มีคุณค่าในฐานะ
วรรณคดีบันทึกภาพพระราชพิธีที่บันทึกแบบแผนกระบวนพยุหยาตราได้อย่าง
ละเอียดลออสมบูรณ์เท่านั้น แต่ยังมีคุณค่าในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติด้วย
ในฐานะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ ลิลิตเรื่องนี้ผสานคติต่างๆ เกี่ยวกับ
ความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติทางพุทธศาสนามาใช้ในการพรรณนาและ “เสนอพระ
เกียรดิกระษัตริย์” คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างแยบคายและมี
วรรณศิลป์ โดยน าเสนอให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น “ธรรมราชา”
ผู้ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมทางพุทธศาสนา มีพระบุญญาบารมีและพระเดชานุภาพ