Page 66 -
P. 66
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 55
จึ่งจอมจักรพรรดิผู้ สัมพุทธ- พงษ์เอย
เสวอยภพแผ่นอยุท- ธเยศหล้า
คือองค์อรรคมงกุฎ ดิลกโลกย์ แลฤๅ
บ าราศดุสิตฟากฟ้า เสด็จด้าวแดนไผทฯ
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 101)
การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระ
โพธิสัตว์ผู้ก าลังบ าเพ็ญบารมีได้รับการเน้นย้ าอีกครั้งในโคลงที่สรุปการเสด็จพระ
ราชด าเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค โคลงดังกล่าวพรรณนาว่าพระบาท
สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง “ล าเค็ญพระกาย” อย่างยิ่งในการเสด็จพระราช
ด าเนินถวายผ้าพระกฐินถึง 47 วัด แต่ก็มิได้ทรงย่อท้อ ด้วยมีพระราชศรัทธาเปี่ยม
ล้นและพระราชปณิธานแน่วแน่ “หน่วงน้อมพุทธภูมิ” คือการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นจากวัฏสงสาร ดังนี้
อาวาศฝ่ายน้ านับ เนกหลาย
สี่สิบเจ็ดประมาณหมาย มากด้าว
ล าเค็ญพระกายวาย หวังโพธิ์
เพราะพระไทยท่านน้าว หน่วงน้อมพุทธภูมิ
ปองโปรดชัคณสัตว์สิ้น สบสกล
เสวอยวิมุตติมรรคผล ผ่องแผ้ว
มละโยคโอฆเวียนวน วัฏเขตร ข้ามแฮ
ลุแหล่งศิวาไลยแคล้ว คลาศห้วงสงสาร
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 139)
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า ลิลิตเรื่องนี้มีการผสานคติอันหลากหลาย
ในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งคติธรรมราชา คติ
พญาจักรพรรดิราช และคติพระโพธิสัตว์ ท าให้พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่ประจักษ์ชัดและหลอมรวมความเป็นกษัตริย์ในอุดมคติ
ทางพุทธศาสนาในมิติต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันอย่างชัดเจน