Page 68 -
P. 68

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   57

                กับคติเรื่อง ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนพลแก้ว ตามคติพญาจักรพรรดิราช ท าให้ภาพ
                ความสง่างามน่าเกรงขามของกระบวนพยุหยาตราโดดเด่นมีพลังยิ่งขึ้น

                       ส่วนเนื้อหาช่วงที่เป็นการสรุปการเสด็จพระราชด าเนินโดยกระบวนพยุห
                ยาตราทั้งสถลมารคและชลมารคได้เน้นย้ ามิติความเป็นพระโพธิสัตว์ของ

                พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นช่วงที่สรุปว่า
                พระองค์เสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้าพระกฐินจ านวนกี่วัดและมีวัดใดบ้าง  การ
                น าคติพระโพธิสัตว์เข้ามาเชื่อมโยงเพื่อสรุปว่าการเสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้า
                พระกฐินแก่วัดต่างๆ ทั้งทางบกและทางน้ าเป็นหนึ่งในการสั่งสมและบ าเพ็ญบารมี
                เพื่อการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้ มีนัยส าคัญหลายประการ ประการแรก เป็นการ

                เน้นให้เห็นความส าคัญและความยิ่งใหญ่ของการบ าเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระ
                กฐิน ประการที่สอง การน าเสนอว่าการเสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้าพระกฐินทั้ง
                ทางบกและทางน้ าเป็นสิ่งที่ท าได้ยากและ “ล าเค็ญพระกาย” อย่างยิ่งนี้ เป็นการสื่อ
                ปรัชญาว่า การสั่งสมบ าเพ็ญบารมีเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ยาก
                ยิ่งและต้องมีศรัทธาอันแน่วแน่เท่านั้นจึงจะท าได้ส าเร็จ และพระบาทสมเด็จพระนั่ง
                เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้ที่มีพระราชศรัทธาเต็มเปี่ยม สามารถบ าเพ็ญบารมีนี้ได้

                ส าเร็จ ประการที่สาม การกล่าวถึงการตั้งพระราชปณิธานเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อ
                เสด็จถึงปลายทางหรือสิ้นสุดการเสด็จพระราชด าเนินทั้งทางบกและทางน้ านี้ ในแง่
                หนึ่งอาจเป็นการสะท้อนปรัชญาส าคัญทางพุทธศาสนาว่า  การบรรลุพระโพธิญาณ
                หรือการนิพพานเป็น “ปลายทาง” หรืออุดมคติที่ส าคัญที่สุดที่พึงตั้งมั่นและไปให้ถึง

                       อาจกล่าวได้ว่า ความเป็นธรรมราชา พญาจักรพรรดิราช และพระ
                โพธิสัตว์ ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในลิลิตเรื่องนี้ปรากฏอยู่ร่วมกัน

                อย่างกลมกลืน งดงาม และสอดคล้องกับเนื้อหาในแต่ละช่วงตอนและมีส่วนเสริมซึ่ง
                กันและกัน กล่าวคือ แสดงให้เห็นว่า ธรรมราชาพระองค์นี้มีพระบุญญาธิการและ
                แสนยานุภาพทางโลกที่ยิ่งใหญ่ดังเช่นพญาจักรพรรดิราช ขณะเดียวกันก็ก าลังสั่ง
                สมและบ าเพ็ญบารมีอันยิ่งใหญ่เพื่อเตรียมพร้อมสู่การบรรลุอุดมคติสูงสุดทางพุทธ

                ศาสนา คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73