Page 65 -
P. 65

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          54   วารสารมนุษยศาสตร์

                 3. เฉลิมพระเกียรติรัชกำลที่ 3 ในฐำนะพระโพธิสัตว์
                 การพรรณนาภาพการเสด็จพระราชด าเนินถวายผ้าพระกฐินของ
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยกระบวนพยุหยาตราในลิลิตเรื่องนี้ไม่

          เพียงแต่สัมพันธ์กับคติธรรมราชาและคติพญาจักรพรรดิราชดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น
          แต่ยังมีความเชื่อมโยงกับคติการบ าเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์อย่างเด่นชัด และมี
          นัยในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพระ
          โพธิสัตว์ผู้ก าลังสั่งสมและบ าเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ดังนี้

                 1) การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระ
          โพธิสัตว์เริ่มปรากฏตั้งแต่ในบทประณามพจน์ ดังมีโคลงบทหนึ่งพรรณนาว่า

          “สมภารสมโพธิ” ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น “พ้น ร าพรรณ”
          (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 29) อันหมายความว่า
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสั่งสมและบ าเพ็ญบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็น
          พระพุทธเจ้ามาอย่างยาวนานและมากเกินกว่าจะพรรณนาได้

                 2)  ลิลิตเรื่องนี้ยังได้สรรเสริญการบ าเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน

          ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เป็นการสั่งสมและบ าเพ็ญบารมีของ
          พระโพธิสัตว์เพื่อการบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต  เช่น  ในโคลง
          ที่สรุปการเสด็จพระราชด าเนินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปรากฏค าเรียก
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “สัมพุทธพงษ์” อันหมายถึง ผู้ที่อยู่ใน
          “พุทธวงศ์” หรือวงศ์แห่งพระพุทธเจ้า หรือก็คือพระโพธิสัตว์  ทั้งยังพรรณนาขยาย
          ความต่อว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้เป็น “สัมพุทธพงษ์” นี้เสด็จ

          “บ าราศดุสิตฟากฟ้า” มาสู่แผ่นดิน คือ เสด็จมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต อันเป็นสวรรค์
          ชั้นที่ตามคติพุทธศาสนาเชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ผู้ที่รอจะมาตรัสรู้เป็น
          พระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังที่พรรณนาว่า
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70