Page 62 -
P. 62
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 51
และเป็นเครื่องแสดงพระเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ผู้เปรียบประดุจพญา
จักรพรรดิราชนั่นเอง ประการที่สอง องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนพยุหยาตรา
ยังอาจถือเป็นสัญลักษณ์แทนสมบัติคู่บุญบารมีแห่งพญาจักรพรรดิราชได้ เช่น
ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของช้างแก้ว ม้าต้นเป็นสัญลักษณ์ของม้าแก้ว และขุนนาง
ข้าราชการต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของขุนคลังแก้วหรือขุนพลแก้ว นอกจากนี้ไพร่พล
ที่มีทั้งไทยและต่างชาติ เช่น มอญ พม่า จาม มลายู ก็อาจเป็นสัญลักษณ์แทน
แสนยานุภาพของพระมหากษัตริย์ที่สามารถปราบดินแดนต่างๆ ได้ท านอง
เดียวกับพญาจักรพรรดิราชที่ปราบได้ทั้งจักรวาล
เมื่อน าคติดังกล่าวมาพิจารณาลิลิตเรื่องนี้พบว่า การพรรณนาภาพ
กระบวนพยุหยาตราในลิลิตเรื่องนี้มีความเชื่อมโยงกับคติเรื่องพญาจักรพรรดิราช
และมีนัยในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะพญา
จักรพรรดิราชอย่างชัดเจนหลายลักษณะ ดังนี้
1) การใช้ค าเรียกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “เจ้าจักรพาฬ”
7
“จอมจักรพรรดิ” หรือ“จอมจักรจตุราทีป” เป็นการเปรียบพระบาทสมเด็จพระนั่ง
8
เกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพญาจักรพรรดิราชผู้ปราบได้ทั้งสี่ทวีปหรือทั่วทั้งจักรวาล
อย่างเด่นชัด ดังตัวอย่าง
ภิญโญยศแผ่ผ้าน พสุธา
ตระหลอดทุกแหล่งสิมา หมื่นไท้
เจียรจอมจักรจตุรา ทีปเทียบ ถึงฤๅ
ต่างแต่งปรักมาศไม้ มอบเกล้าถวายถวัลย์ฯ
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 29)
7
หมายถึง ผู้เป็นใหญ่เหนือเกาะหรือทวีปทั้งสี่
8
ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงพระเดชานุภาพของพญาจักรพรรดิราชไว้ตอนหนึ่งว่า
“...มีศักดิ์มียศบริวารเป็นอเนกอนันต์ไส้ ได้ปรำบทั่วทั้งจักรวำฬแลฯ” (ไตรภูมิพระร่วง,
2504: 94)