Page 60 -
P. 60
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 49
1) เนื้อหาในบทประณามพจน์ซึ่งประกอบด้วยร่าย 1 บทและโคลง 17 บท
ได้เน้นย้ าให้ประจักษ์ชัดถึงพระราชจริยวัตรในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวผู้ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรม กล่าวคือ ในร่ายเกริ่นน าได้สรุป “หัวใจ” ของความ
เป็นธรรมราชาของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจนว่า พระองค์
เป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมในการปกครองแผ่นดิน อันได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคฤหพัสดุ์
และจักรวรรดิวัตร และความทรงธรรมของพระองค์นี้ท าให้ไพร่ฟ้าและอาณาจักร
สงบสุขร่มเย็นและเจริญรุ่งเรืองสืบมา ดังที่พรรณนาว่า
“...ถ่องพระสาสนท านุก เทิดทางยุกดิ์ท าเนียบ เทียบทศธรรม
ธ ารง ทรงสิ่งสังคฤหพัสดุ์ จักรวัติวัตรอ ารุง ผดุงแดไพร่ให้ศุข
ปลุกราษฎร์ให้ใจเกษม เปรมสมบูรณ์ภูลสวัสดิ์...” (สมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 28)
จากนั้นโคลงอีก 17 บทที่ตามมาก็เป็นการพรรณนาขยายความให้เห็น
พระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในฐานะกษัตริย์ผู้ทรงธรรมของพระองค์
อย่างเป็นรูปธรรม เช่น โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ทรงอุปถัมภ์บ ารุง
เลี้ยงพระสงฆ์ทั่วพระนคร และทรงบริจาคทานและตั้งโรงทานเป็นเนืองนิตย์
การบ าเพ็ญธรรมและพระราชกรณียกิจทางพุทธศาสนาของพระองค์นี้ เป็น
สิ่งที่ “ฤๅห่อนสุดสารซร้อง” คือสุดที่จะพรรณนาได้หมด (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรม
พระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 28-31) ดังที่พรรณนาว่า
สมภารภูวนารถเกื้อ กุศลสรรพ์ กิจฤๅ
ร้อยโอฐออกร าพรรณ พร่ าพร้อง
หมื่นมาศหมื่นคืนวัน ปีหมื่น หมายแฮ
ฤๅห่อนสุดสารซร้อง สิ่งสร้างแสวงบุญฯ
(สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 31)
2) นอกจากบทประณามพจน์แล้ว เนื้อหาหลักของเรื่องที่พรรณนาพระ
ราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชด าเนินไป “ถวายทานกฐิน” แก่วัดต่างๆ จ านวน