Page 59 -
P. 59
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
48 วารสารมนุษยศาสตร์
ในโคลงบานแพนก สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
ยังทรงกล่าวถึงจุดมุ่งหมายในการทรงพระนิพนธ์ลิลิตเรื่องนี้ด้วยว่า เพื่อพรรณนา
แบบแผนกระบวนพยุหยาตรา “บกน า” ให้ “บูรณฉบับ” หรือเป็นฉบับที่สมบูรณ์
และเพื่อ “เสนอพระเกียรดิกระษัตริย์สร้าง สืบฟ้าดินเฉลอมฯ” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 26) ซึ่งพระประสงค์เพื่อ “เสนอพระเกียรดิกระษัตริย์
สร้าง” นี้ เป็นประเด็นที่ผู้วิจัยจะศึกษาวิเคราะห์ในบทความนี้
5. ระยะเวลำในกำรแต่ง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงระบุในโคลงบาน
แพนกว่า ทรงใช้เวลาในการทรงพระนิพนธ์ลิลิตเรื่องนี้ “ปีนับกับกึ งได้” หรือ 1 ปีครึ่ง
และทรงพระนิพนธ์แล้วเสร็จในปีมะโรง จ.ศ.1206 (พ.ศ.2387) (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539: 26)
ลิลิตกระบวนพยุหยำตรำสถลมำรคและชลมำรคในฐำนะวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ:
กำรผสำนคติธรรมรำชำ คติพญำจักรพรรดิรำช และคติพระโพธิสัตว์
จากการศึกษาการน าเสนอภาพพระราชพิธีเสด็จพระราชด าเนินไปถวาย
ผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารคในลิลิตเรื่องนี้พบว่า มี
การน าคติเรื่องธรรมราชา คติเรื่องพญาจักรพรรดิราช และคติเรื่องการบ าเพ็ญ
บารมีของพระโพธิสัตว์ มาใช้ในการพรรณนาเพื่อสดุดีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวอย่างเด่นชัด ท าให้ลิลิตเรื่องนี้มีความเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติที่
แสดงให้เห็นพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในฐานะ
ธรรมราชา ในฐานะพญาจักรพรรดิราช และในฐานะพระโพธิสัตว์ ดังนี้
1. เฉลิมพระเกียรติรัชกำลที่ 3 ในฐำนะธรรมรำชำ
ลิลิตเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างแจ่มชัดว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็น “ธรรมราชา” หรือราชาผู้ทรงธรรมในการ
ปกครองแผ่นดินอย่างแท้จริง ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากบทประณามพจน์และเนื้อหา
หลักของเรื่อง ดังนี้