Page 54 -
P. 54
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) 43
ภูมิหลังเกี่ยวกับลิลิตกระบวนพยุหยำตรำสถลมำรคและชลมำรค
1. ชื่อเรื่อง
พระนิพนธ์เรื่องลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารคนี้มีการ
เรียกชื่อเรื่องต่างกันไปอย่างหลากหลาย เช่น บนปกของต้นฉบับสมุดไทยด าเรื่อง
นี้ระบุชื่อเรื่องว่า “โคลงขบวนแห่กฐิน” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2, 2530: [19])
และในบัญชีรายชื่อวรรณคดีของหอสมุดแห่งชาติเรียกชื่อเรื่องนี้ว่า “กระบวนพยุห
ยาตราสถลมารคและชลมารค” (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 2, 2530: [19]) ต่อมา
เมื่อน าวรรณคดีเรื่องนี้มาตีพิมพ์ ฉบับพิมพ์แต่ละเล่มก็ใช้ชื่อเรื่องต่างกันไป เช่น
บางฉบับใช้ว่า “ลิลิตกระบวนพยุหยาตราชลมารคและสถลมารค” (สมเด็จพระ
มหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2539) หรือบางฉบับใช้ว่า “ลิลิตกระบวน
แห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารคและชลมารค” (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, 2528)
ผู้วิจัยเห็นว่าชื่อที่เหมาะสมจะใช้เรียกวรรณคดีเรื่องนี้คือ “ลิลิตกระบวน
พยุหยาตราสถลมารคและชลมารค” เนื่องจากเป็นชื่อที่สรุปทั้งรูปแบบและเนื้อหา
ของวรรณคดีเรื่องนี้ได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน กล่าวคือ ค าว่า “ลิลิต” ระบุประเภท
ค าประพันธ์ของเรื่องนี้ และค าว่า “กระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค” ระบุ
เนื้อหาหลักและการเรียงล าดับเนื้อหาที่เริ่มจาก “สถลมารค” ก่อน แล้วตามด้วย
“ชลมารค” ได้อย่างถูกต้อง
2. รูปแบบค ำประพันธ์
ลิลิตเรื่องนี้แต่งด้วยค าประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยโคลง
สุภาพสลับกับร่ายสุภาพ
3. เนื้อหำ
เนื้อหาของลิลิตเรื่องนี้น าเสนอภาพริ้วกระบวนพยุหยาตราทั้งสถลมารค
และชลมารคในคราวที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด าเนิน
ถวายผ้าพระกฐิน