Page 55 -
P. 55

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          44   วารสารมนุษยศาสตร์

                 การจัดเรียงเนื้อหาของลิลิตเรื่องนี้มีความเป็นระบบระเบียบ กล่าวคือ
          เนื้อหาเริ่มต้นด้วยโคลงบานแพนก 4 บท กล่าวถึงนามกวี มูลเหตุและจุดมุ่งหมาย
          ในการแต่ง รวมทั้งระยะเวลาในการแต่ง ถัดมาเป็นบทประณามพจน์ที่แต่งด้วยร่าย

          กับโคลงพรรณนาความรุ่งเรืองของบ้านเมืองและยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระ
          นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะกษัตริย์ผู้ทรงธรรม จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเรื่องซึ่งมี 2
          ส่วนตามล าดับคือ เนื้อหาที่พรรณนาภาพกระบวนพยุหยาตราสถลมารค และ
          เนื้อหาที่พรรณนาภาพกระบวนพยุหยาตราชลมารค เมื่อจบเนื้อหาในแต่ละส่วน ก็
          จะมีการสรุปเนื้อหาและจ านวนวัดที่เสด็จพระราชด าเนินไปถวายผ้าพระกฐิน

                 กระบวนพยุหยาตราสถลมารคที่พรรณนาในลิลิตเรื่องนี้จัดเป็น “กระบวน

          พยุหยาตราใหญ่” เนื่องจากประกอบด้วย 2 กระบวน คือ กระบวนเสนาทั้ง 4 เหล่า
                                                              2
          แห่ผ้าไตรพระกฐิน และ กระบวนเสด็จพระราชด าเนินแห่ 4 สายกระบวน  เนื้อหาทั้ง
          2 กระบวนนี้มีการพรรณนาภาพและรายละเอียดต่างๆ อย่างชัดเจนและสมบูรณ์
          กล่าวคือ กระบวนเสนาทั้ง 4 เหล่าแห่ผ้าไตรพระกฐินประกอบด้วย กระบวนม้า
          กระบวนรถ กระบวนช้าง และกระบวนพลเท้า ส่วนกระบวนเสด็จพระราชด าเนินแห่
          4 สายประกอบด้วย กระบวนน าเสด็จ กระบวนพระราชยาน กระบวนม้าตามเสด็จ

          กระบวนรถ และกระบวนพลเดินเท้า

                                             3
                 ข้อที่น่าสนใจก็คือ ชื่อม้าต้นเกือบทุกม้า ที่พรรณนาในกระบวนพยุหยาตรา
          สถลมารคนี้ตรงกับชื่อม้าต้นที่ปรากฏในจดหมายเหตุซึ่งระบุว่าเป็นชื่อที่
          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3






                 2
                  ถ้าเป็น “กระบวนพยุหยาตราน้อยสถลมารค” จะไม่มีการจัดกระบวนเสนาทั้ง
          4 เหล่าแห่ผ้าไตรพระกฐิน แต่จะน าผ้าไตรไปรอรับเสด็จที่วัด จะแห่เฉพาะกระบวนเสด็จ
          พระราชด าเนินเท่านั้น
                 3
                  ในกระบวนม้าต้นที่พรรณนาในลิลิตนี้ มีเพียงม้าที่ชื่อ “ถกลกายกนก” เท่านั้น
          ที่ไม่พบชื่อนี้ในจดหมายเหตุ
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60