Page 51 -
P. 51

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          40   วารสารมนุษยศาสตร์

           Abstract
                 This paper aims to examine Lilit on the Royal Kathin Land and Water

          Processions by the Supreme Patriarch H.R.H. Prince Paramanujitajinorasa as a
          eulogy  for  king.  The  study  reveals  that  this  text  combines  various
          conceptions of kingship to present and describe the royal kathin processions
          of King Rama III. As a grand eulogy, the text artistically depicts and glorifies
          King Rama III as a Dharmaraja, a Cakravartin as well as a Bodhisattva.

          บทน ำ

                 การเสด็จพระราชด าเนินของพระมหากษัตริย์โดยกระบวนพยุหยาตรา
          สถลมารค (ทางบก) และชลมารค (ทางน้ า) เป็นราชประเพณีส าคัญของไทยที่ถือ
          ปฏิบัติและได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  กระบวน

          พยุหยาตราอาจจัดขึ้นในคราวเสด็จพระราชด าเนินส่วนพระองค์ หรือในคราวเสด็จ
          พระราชด าเนินไปในการพระราชพิธีหรือโอกาสส าคัญของบ้านเมือง เช่น เสด็จพระ
          ราชด าเนินไปในการศึก เสด็จพระราชด าเนินไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เสด็จ
          พระราชด าเนินเลียบพระนครในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเสด็จพระราช
          ด าเนินไปถวายผ้าพระกฐิน

                 การเสด็จพระราชด าเนินโดยกระบวนพยุหยาตรานี้เป็นพระราชพิธีที่มี

          ความส าคัญต่อบ้านเมืองและสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้วยแสดงให้เห็นแสนยานุภาพ
          ของกองทัพและราชอาณาจักร ความยิ่งใหญ่รุ่งเรืองของราชส านัก และพระบุญญา
          บารมีของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้แบบแผนการจัดกระบวนพยุหยาตรายังถือเป็น
          องค์ความรู้และมรดกภูมิปัญญาของชาติที่ส าคัญและมีคุณค่ายิ่ง ดังจะเห็นว่ามีการ
          บันทึกและถ่ายทอดองค์ความรู้นี้มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น การเขียนภาพริ้ว

          กระบวนพยุหยาตราสถลมารคบนผนังอุโบสถวัดยมในสมัยอยุธยา ซึ่งต่อมามีผู้คัด
          จ าลองภาพเขียนนี้ลงในสมุดภาพ (ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์, 2531:
          115) การจดบันทึกรายละเอียดกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในรัชกาลสมเด็จพระ
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56