Page 52 -
P. 52

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   41

                                        1
                นารายณ์มหาราชลงในสมุดไทย  (ก่องแก้ว วีระประจักษ์ และนิยะดา ทาสุคนธ์,
                2531:  4) หรือการเขียนภาพพร้อมจารึกข้อความแสดงรายละเอียดริ้วกระบวนแห่
                พระกฐินพยุหยาตราสถลมารคประดับที่พระระเบียงรอบพระเจดีย์ในวัดพระเชตุพน

                วิมลมังคลาราม ในสมัยรัชกาลที่ 3 (นิยะดา เหล่าสุนทร, 2544: 291-299)

                       นอกจากแบบแผนกระบวนพยุหยาตราจะได้รับการบันทึกผ่านภาพวาด
                เอกสาร และการจารึกประดับผนังวัดแล้ว ยังมีการบันทึกและถ่ายทอดผ่านรูปแบบ
                วรรณคดีด้วย เช่น วรรณคดีเรื่องลิลิตกระบวนพยุหยาตราเพชรพวง ของเจ้าพระยา
                พระคลัง (หน) และ ลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค พระนิพนธ์ใน
                สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส


                       เรื่องลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารคพระนิพนธ์ในสมเด็จ
                พระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสนี้ นับถือกันว่าเป็นวรรณคดีเอกของ
                ไทยเรื่องหนึ่งที่พรรณนาแบบแผนการจัดกระบวนพยุหยาตราในสมัยรัชกาลที่ 3
                ไว้อย่างชัดเจนครบถ้วนทั้งสถลมารคและชลมารค และมีลีลาการพรรณนาที่ไพเราะ
                งดงาม ความดีเด่นของลิลิตเรื่องนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นได้ศึกษาไว้ เช่น วิทยานิพนธ์
                ของนิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต (2523) ศึกษาและอธิบายความดีเด่นของลิลิตเรื่องนี้ใน

                ด้านการบันทึกภาพแบบแผนริ้วกระบวนพยุหยาตราและด้านศิลปะการแต่งที่งดงาม
                หรือบทความวิจัยของสุปาณี พัดทอง (2551) ได้ศึกษาและอธิบายคุณค่าของวรรณคดี
                เรื่องนี้ในด้านเนื้อหาและวรรณศิลป์ รวมทั้งอธิบายว่าความยิ่งใหญ่ของกระบวน
                พยุหยาตราที่พรรณนาในลิลิตนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นสมมติเทพและความมี
                บุญญาธิการของพระมหากษัตริย์





                       1
                        รายละเอียดของกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงดังกล่าวนี้อยู่ในหนังสือสมุดไทย
                ซึ่งบันทึกขึ้นใหม่ในรัชสมัยสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยระบุว่า
                คัดมาจากฉบับเดิมซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ก่องแก้ว วีระประจักษ์
                และนิยะดา ทาสุคนธ์, 2531: 4)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57