Page 56 -
P. 56

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   45

                                   4
                เล่ม 4, 2530:  51) ได้แก่  วิรุณรัศมี ศรีสรรพางค์ เกษาลินี ภุมรีรัตน ก าพลพัตร
                อัษฎงคต เมฆมาลา เมฆาพิลาศ ทิพยโสภา สุธาทิพย สุยามพรรณ อัญชันโชติ
                ปัศวหล  า ปัทมราช พาหวตา วายุพาหะ ชามพูมานัศ สหัสรังษี สังขรัศมี ลม้าย

                แม้นเขียน ราหูจับจันทร์ ขเษียรสมุท ศรีประภัศร วิเวกเวหา ผยองยาตราฟ้า ไหรญ
                รัศมี ดารินทดารา อัศวราฤทธิ กนกภูษา สุริยบรรยงก์ พวงเพ็ชรแพร้ว จารุณรัตน
                                            5
                หงษ์พิมาน เหมมงคล เขจรจรัล สุพรรณ จามรมาศ

                       นอกจากชื่อม้าต้นแล้ว ชื่อของช้างเผือกบางช้างในกระบวนพญาช้างที่
                ปรากฏในกระบวนพยุหยาตราสถลมารคนี้ก็ตรงกับระวางชื่อช้างต้นที่ปรากฏใน
                จดหมายเหตุซึ่งระบุว่าเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราช

                นิพนธ์เช่นกัน (จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3 เล่ม 4, 2530: 51) ได้แก่ พญามงคลนาคินทร์
                และ พญามงคลหัศดินทร์ ส่วนชื่อช้างเผือกอื่นๆ ในกระบวนที่มิใช่ชื่อพระราชนิพนธ์
                นั้น คงเป็นช้างเผือกที่มีมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลก่อนๆ ได้แก่ พระเทพกุญชร พญา
                เสวตรกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา และพระบรม
                เอกทันต์

                       ส่วนกระบวนพยุหยาตราชลมารคที่พรรณนาในลิลิตเรื่องนี้เป็นการเสด็จ

                พระราชด าเนินต่างคราวกันกับกระบวนพยุหยาตราสถลมารคที่เป็นเนื้อหาส่วนต้น
                กระบวนพยุหยาตราชลมารคนี้ประกอบด้วย กระบวนหน้าชั้นนอก กระบวนหน้า
                ชั้นใน กระบวนเรือพระราชยาน กระบวนหลังชั้นใน และกระบวนหลังชั้นนอก ใน
                แต่ละกระบวน มีการพรรณนารายละเอียดต่างๆ อย่างชัดเจนและสมบูรณ์ทั้งชื่อเรือ
                จ านวนเรือ ขนาดเรือ ความงดงามของเรือ ล าดับของเรือหรือลักษณะการจัดกระบวน
                เรือ ตลอดจนรายละเอียดของขุนนาง ข้าราชบริพาร และฝีพาย ประจ าเรือแต่ละล า

                ทั้งจ านวน ต าแหน่ง และการแต่งกาย

                       4
                         ผู้วิจัยสะกดค าตามต้นฉบับเรื่องลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและ
                ชลมารค (2539) ที่ใช้ในการวิจัย
                       5
                        ม้าชื่อ “สุพรรณ” นี้น่าจะหมายถึงม้าต้นชื่อ “สุพรรณสิงฆาร”  ในจดหมายเหตุ
                ซึ่งเป็นชื่อพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61