Page 76 -
P. 76

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                         ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555)   65

                อุปกรณ์การพิมพ์ที่เคยขาดแคลนในช่วงสงครามก็มีปริมาณเพียงพอกับความ
                ต้องการส่งผลให้การพิมพ์ขยายตัวและก้าวหน้า นักเขียนและนักวิจารณ์มีการ
                รวมกลุ่มกันผลิตวารสารออกจ าหน่ายส่งผลให้นักเขียนและนักวิจารณ์มีพื้นที่ในการ

                เผยแพร่ผลงานของตนเพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากการรวมตัวกันก่อตั้งกลุ่ม “วงวรรณคดี”

                                          1
                       กลุ่ม/สมาคม “วงวรรณคดี”  ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2489 ภายใต้การริเริ่มของ
                หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิกุล และคณะซึ่งประกอบไปด้วยบัณฑิตผู้ส าเร็จ
                การศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังปรากฏอยู่ในบันทึกการประชุมเนื่องใน
                วันครบรอบปีของวงวรรณคดีว่า “วงวรรณคดีเกิดขึ้นเพราะมีผู้ส าเร็จวิชาอักษรศาสตร์
                จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะหนึ่ง ซึ่งมีความคิดต้องกันว่าน่าจะได้ร่วมมือกัน

                ส่งเสริมวิชาการด้านหนังสือตามก าลังปัญญาอันน้อยที่ได้ร่ าเรียนมา” (เมืองรอง,
                2490: 1) ต่อมาได้มีผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดีไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก
                ของกลุ่มวงวรรณคดีอีกหลายคน ส่งผลให้กลุ่มวงวรรณคดีกลายเป็นกลุ่มที่รวบรวม
                ผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาและวรรณคดีไทยในยุค พ.ศ. 2489–2495  ไว้ อาทิ  พระยา
                อนุมานราชธน, ธนิต อยู่โพธิ์, สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา, พระวรวงศ์เธอ
                พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต, หม่อมเจ้าพูนพิศมัย

                ดิศกุล, เจือ สตะเวทิน,  สุกิจ นิมมานเหมินท์, ป.ส. ศาสตรี,  วิทย์ ศิวะศริยานนท์,
                พระราชธรรมนิเทศ, หม่อมหลวงจินตนา นพวงศ์ เป็นต้น กลุ่มวงวรรณคดีได้ผลิต
                วารสารของกลุ่มขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการเผยแพร่ผลงานของสมาชิก กล่าวคือ ได้มี
                การผลิตวารสารวงวรรณคดีซึ่งเป็นวารสารรายเดือนขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
                “ส่งเสริมวรรณคดีและการอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น”

                (หม่อมหลวงจิตติ นพวงศ์, 2489:  42) จากการศึกษาเนื้อหาสาระต่างๆ ในวารสาร
                วงวรรณคดีสามารถจ าแนกเนื้อหาออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ ประเภทแสดงความ
                จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ประเภทให้คติสอนใจ ประเภทบันทึกสังคม ประเภท
                ให้ความบันเทิง ประเภทให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ประเภทให้



                       1
                        ในการประชุมครบรอบปีที่ 2 ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ที่ประชุม
                มีมติให้ตั้งกลุ่มวงวรรณคดีเป็นสมาคมวงวรรณคดี
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81