Page 79 -
P. 79
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68 วารสารมนุษยศาสตร์
กล่าวได้ว่าวารสารวงวรรณคดีได้บันทึกบทบาทการฟื้นตัวของกลุ่มอนุรักษ์นิยมใน
การฟื้นสถานะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยไว้ ทั้งนี้
เนื่องมาจากสังคมไทยยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 จนถึงยุคของจอมพล
ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (พ.ศ. 2481–2487) เป็นยุคที่ไม่เพียงแต่
สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกลดบทบาทลงไปเท่านั้น แม้แต่กลุ่มอนุรักษนิยมก็ถูกลด
บทบาทไปด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมื่อถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นยุค
ที่วารสารวงวรรณคดีถือก าเนิดขึ้น พบว่าเป็นยุคที่กลุ่มอนุรักษนิยมเริ่มมีการฟื้น
คืนอ านาจขึ้นอีกครั้ง โดยพยายามฟื้นสถานะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ผ่านกลไก
ทางการเมือง หรือแม้แต่วงการวรรณกรรมก็ยังถูกกลุ่มอนุรักษนิยมน ามาเป็นกลไก
ในการฟื้นสถานะให้สถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้น
ของวารสารวงวรรณคดี
ฉะนั้นจึงเป็นที่น่าสนใจว่าวารสารวงวรรณคดีได้บันทึกบทบาทการฟื้นตัว
ของกลุ่มอนุรักษนิยมในยุคนี้ไว้อย่างไรในการที่จะฟื้นสถานะให้สถาบัน
พระมหากษัตริย์ จากการทบทวนวรรณกรรมปรากฏว่ายังไม่มีผู้ศึกษาวารสาร
วงวรรณคดีในประเด็นนี้มาก่อน มีเพียงการศึกษาบทวิจารณ์บางบทความเพื่อ
น ามาเป็นตัวอย่างในการอ้างอิงเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะการวิจารณ์ไทยในแต่ละ
ยุคสมัย ดังปรากฏอยู่ในวิทยานิพนธ์เรื่องลักษณะและวิวัฒนาการของการวิจารณ์
วรรณกรรมในประเทศไทยในรอบหนึ่งศตวรรษ (พ.ศ. 2419–2519) และปรากฏอยู่ใน
หนังสือเรื่องทอไหมในสายน ้า 200 ปี วรรณคดีวิจารณ์ไทย หรือการศึกษา
ค าประพันธ์ร้อยกรองบางเรื่องเพื่อน ามาเป็นตัวอย่างในการอ้างอิงเพื่อแสดงให้เห็น
ลักษณะค าประพันธ์ร้อยกรองของไทยในแต่ละยุคสมัย ดังปรากฏอยู่ใน
วิทยานิพนธ์เรื่องลักษณะค้าประพันธ์ร้อยกรองของไทยตั งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง 2501
เป็นต้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นบทความนี้จึงมุ่งศึกษาบทบาทของวารสาร
วงวรรณคดีกับการฟื้นตัวของกลุ่มอนุรักษนิยมและฟื้นสถานะให้สถาบัน
พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย